ที่งอก หมายถึง ที่ดินซึ่งติดพื้นน้ำงอกออกไปจากตลิ่ง ในฤดูน้ำหรือเวลาน้ำขึ้นปกติน้ำท่วมไม่ถึง ต่างจากที่ชายตลิ่งซึ่งน้ำท่วมถึง ที่งอกริมตลิ่งอาจจะงอกออกไปจากริมแม่น้ำ ริมบึง ริมทะเลสาบ ริมทะเล ก็ได้
มาตรา 1308 "ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น"
ที่งอกริมตลิ่งประกอบด้วยหลัก 4 ประการ
(1) เป็นที่งอกซึ่งเกิดโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ที่ดินที่งอกโดยมนุษย์ใช้ดินถมให้เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10534/2551 ที่ดินพิพาทเป็นที่งอกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 8894 และ 8895 ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทรายชายหาดเนื่องจากมีสิ่งก่อสร้างเป็นเขื่อนหินยื่นลงไปในทะเลใกล้กับที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวของโจทก์ ทำให้กีดขวางการเคลื่อนย้ายของตะกอนทรายชายฝั่งทะเลและกักเก็บตะกอนทรายนี้ให้สะสมตัว ทำให้ที่งอกเกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดจากมนุษย์นำไปถม วัตถุประสงค์ในการสร้างเขื่อนหินของบริษัทชลประทานซีเมนต์ จำกัด ผู้สร้างเขื่อนหินเพื่อกันมิให้ทรายเปิดปากคลอง ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดที่งอกริมตลิ่ง โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนหินดังกล่าว ที่งอกเกิดขึ้นติดต่อเป็นแปลงเดียวกับที่ดินเดิมโฉนดเลขที่ 8894 และ 8895 ดังนี้ แม้ที่งอกอันเป็นที่ดินพิพาทในคดีนี้จะเกิดขึ้นจากการที่บุคคลอื่นสร้างเขื่อนหินยื่นลงไปในทะเลใกล้กับที่ดินโฉนดเลขที่ 8894 และ 8895 ของโจทก์ทำให้เกิดการสะสมของตะกอนทรายแล้วเกิดที่งอกจากที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนหินดังกล่าว ก็ถือได้ว่าที่งอกของที่ดินของโจทก์เป็นที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่งอกดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10662/2551 ที่งอกที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลอื่นสร้างเขื่อนหินยื่นลงไปในทะเลทำให้เกิดการสะสมของตะกอนทรายแล้วเกิดที่งอกจากที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนหินดังกล่าวย่อมถือได้ว่าที่งอกของที่ดินของโจทก์เป็นที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่งอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2523 ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึงที่ดินที่งอกไปจากตลิ่ง มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่งแม้หนองน้ำจะตื้นเขินขึ้นมีระดับเสมอกับที่ดินโจทก์ที่ล้อมรอบหนองน้ำอยู่ ก็มิใช่ที่งอกริมตลิ่ง เพราะมิได้งอกออกจากตลิ่งที่ดินโจทก์ การที่หนองน้ำสาธารณะกลายสภาพเป็นที่ตื้นเขินทั้งแปลงเช่นนี้แม้ต่อมาพลเมืองจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยโจทก์เข้าทำนาแต่ผู้เดียว ถ้ายังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หนองน้ำ ดังกล่าวก็ยังคงมีสภาพเป็นสาธารณาสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามเดิม แม้โจทก์จะได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่
(3) งอกออกไปจากที่ดินเดิมโดยไม่มีอะไรคั่น หากมีทางหลวงหรือมีถนนมาคั่น เจ้าของที่ดินย่อมไม่ใช่เจ้าของที่งอกนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10542/2556 ผู้เสียหายเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) บริเวณที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แต่ปรากฏว่าระหว่างที่ดินพิพาทและที่ดินของผู้เสียหายมีถนนสาธารณะกั้นตลอดแนว ทำให้ที่ดินพิพาทไม่ติดกับที่ดินของผู้เสียหายเนื่องจากมีทางสาธารณะคั่น ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอกริมตลิ่งไม่ตกเป็นทรัพย์สินของผู้เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1308 ที่ดินพิพาทจึงเป็นชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ซึ่งมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ที่เอกชนเป็นเจ้าของเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2540 เดิมที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำ แต่ปัจจุบันติดที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยาวไปทางแม่น้ำ 61.80 เมตร สภาพของที่ดินพิพาทกับที่ดินอื่นซึ่งติดกับที่ดินพิพาทเป็นแนวยาวทอดไปตามริมแม่น้ำหลายกิโลเมตร ที่ดินพิพาทส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ จากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ลุ่มขึ้นไปทางทิศเหนือมีลักษณะค่อย ๆ ลุ่มลึกลงบางตอนลึกท่วมศีรษะ ส่วนทางด้านทิศใต้ก็เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะลุ่มลึกน้อยกว่า เมื่อที่ดินพิพาทและที่ดินที่ทอดเป็นแนวยาวไปตามแนวแม่น้ำนั้น เกิดจากกระแสน้ำได้เซาะที่ดินฝั่งตรงกันข้ามและบริเวณดังกล่าวน้ำไม่ไหลหมุนเวียน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กับที่ดินพิพาทเดิมมีลำรางคั่น น้ำท่วมถึงทุกปี แต่ระยะหลังลำรางตื้นเขินเพราะมีเขื่อนกั้นทำให้น้ำเปลี่ยนทางเดิน เป็นที่งอกยาวไปตามแนวแม่น้ำ ที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการที่น้ำพัดพาเอาดินจากที่อื่นมาทับถมกันที่ริมตลิ่งตามธรรมชาติจนน้ำท่วมไม่ถึงทำให้เกิดที่ดินงอกออกไปจากริมตลิ่ง แต่เป็นทางน้ำที่ตื้นเขินขึ้นเพราะน้ำเปลี่ยนทางเดิน และเดิมที่ดินพิพาทเป็นเกาะมีลำคลองกั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือและทางทิศใต้มีคลอง แต่ทางราชการได้ปิดกั้นคลองทำให้ลำคลองที่กั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงไปติดกับที่ดินของโจทก์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมสภาพของที่ดินพิพาทเป็นเกาะ เมื่อลำรางที่กั้นระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินและน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงติดกับที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ดินที่งอกออกไปจากริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามธรรมชาติแต่เป็นท้องทางน้ำที่ตื้นเขินแล้วขยายเข้ามาติดที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9214/2558 ในขณะที่ ข. นำรังวัดที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เพื่อออกโฉนดที่ดินเลขที่ 1837 เมื่อปี 2508 นั้น ข. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในขณะนั้นได้ตกลงยินยอมให้นายอำเภอบางละมุงกันที่ดินส่วนสุดเขตทางด้านทิศตะวันตกที่ระบุว่าจดทะเลไปจนถึงทะเลในระยะ 15 เมตร ไว้เป็นที่ชายทะเลสาธารณประโยชน์ ซึ่งถือได้ว่า ข. ได้ยกหรืออุทิศที่ดินส่วนนั้นให้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว แม้จะมิได้มีการทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือหรือจดทะเบียนโอนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว เมื่อที่ดินที่กันไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์เกิดที่งอกริมตลิ่งขึ้น ที่ดินที่งอกขึ้นนั้นย่อมเป็นทรัพย์สินของที่สาธารณประโยชน์แปลงนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1308 หาใช่เป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ไม่
(4) ในฤดูน้ำปกติน้ำท่วมไม่ถึง ถ้าน้ำท่วมถึงก็ไม่ใช่ที่งอก แต่เป็นที่ชายตลิ่งซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2506 โจทก์ซื้อที่ดิน(ที่มือเปล่า)จากผู้อื่น ด้านยาวทิศใต้จดถนนหลวงด้านกว้างทิศตะวันออกจดคลอง แล้วให้จำเลยเช่าโดยระบุว่า เช่าเพื่อปลูกอาศัย จำเลยใช้ที่ของโจทก์ทำคอกเป็ดและเลี้ยงเป็ด แต่ปลูกโรงเรือนอยู่ในที่ดินต่อกับเขตที่ของโจทก์ออกไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ซึ่งน้ำในลำคลองท่วมถึงเป็นปกติเกือบตลอดปี ที่ซึ่งจำเลยปลูกโรงเรือนนี้ย่อมเป็นที่ชายตลิ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่งตามมาตรา 1308 แม้โจทก์จะได้ครอบครองที่รายนี้มา 10 ปีเศษแล้ว แต่เมื่อตรงที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโจทก์ก็จะอ้างสิทธิครอบครองว่าเป็นของตนหาได้ไม่
เจ้าของที่ดินซึ่งเกิดที่งอก ย่อมได้มาซึ่งที่งอกริ่มตลิ่งตามมาตรา 1308 ตามหลักส่วนควบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326-1327/2506 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1308 ถือได้ว่ากฎหมายให้เจ้าของที่ดินริมตลิ่งได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่งอกออกไปโดยลักษณะเป็นส่วนควบของที่ดินริมตลิ่ง และถือว่าเป็นที่ดินอยู่ในโฉนดของที่ดินริมตลิ่งด้วย
ข้อสัญญาจำนองซึ่งกล่าวว่า "สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแปลงนี้ไม่มีสิ่งใดยกเว้นจำนองด้วยทั้งสิ้น" นี้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 719 แปลความได้ว่าหมายถึง สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่มีอยู่บนที่ดินจำนองในขณะทำสัญญาจำนองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าบ้านที่พิพาทนั้นน้ำท่วมถึง ก็ยังไม่มีสภาพเป็นที่งอกในขณะทำสัญญาจำนอง บ้านนั้นก็มิใช่เป็นสิ่งปลูกสร้างตามข้อสัญญาจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2539 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 กำหนดให้ทึ่งอกริมตลิ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ตั้งอยู่ริมตลิ่ง เมื่อที่งอกอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงดังกล่าวและเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. เจ้าของที่ดินโดยหลักส่วนควบด้วยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องรังวัดขึ้นทะเบียนว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเดิมเสียก่อนแล้วจึงจะเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การที่ ส. ขายที่งอกให้โจทก์ ถือว่าได้แบ่งที่ดินตามโฉนดนั้นขายแก่โจทก์ไม่ใช่เป็นการขายที่ดินมือเปล่า โจทก์กับ ส.เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายกันเองจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่งอก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยออกไปจากที่งอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2546 ส. โอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 10734 อันเป็นที่ดินแปลงเดิมที่เกิดที่งอกให้แก่บริษัท บ. เมื่อปี 2519 ตั้งแต่ยังไม่ได้รับโฉนดของที่งอกที่ขอออกไว้ ขณะที่โอนที่ดินแปลงเดิมไปนั้น ที่งอกริมตลิ่งเริ่มเกิดมีขึ้นแล้ว การเกิดมีที่งอกขึ้นมาในที่ดินย่อมจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 ที่บัญญัติว่า "ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น" เมื่อที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกได้โอนให้บริษัท บ. ไปแล้วในระหว่างนี้ ด้วยความสมัครใจของ ส. เอง ที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกย่อมตกติดไปเป็นของผู้ซื้อ โดยผลของบทกฎหมายดังกล่าว ส. พ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ ทั้งที่ดินแปลงเดิมที่เกิดมีที่งอก และที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกไปจนหมดสิ้น แม้ว่าต่อมาในปี 2522 ได้มีการออกโฉนดสำเร็จบริบูรณ์เป็นชื่อของ ส. ก็ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกนั้นไป และไม่มีอำนาจที่จะขายที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส. ผู้โอน และเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 10734 อันเป็นที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกริมตลิ่งจากเจ้าของเดิมมาโดยถูกต้อง ทำให้ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่งอกนั้นด้วยโดยผลของกฎหมาย
ถ้าที่ดินเดิมเป็นที่ดินที่มีโฉนด ที่งอกริ่มตลิ่งก็เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินนั้น การอ้างการครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ก็จะต้องครอบครองครบ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2543 เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งที่น้ำท่วมถึงจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1304 (2) ที่พิพาทเพิ่งกลายเป็นที่งอกหลังจากมีการสร้างถนน ดังนั้น ก่อนหน้าที่พิพาทเป็นที่งอกแม้โจทก์จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ หลังจากที่พิพาทกลายเป็นที่งอกอันเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว โจทก์ครอบครองไม่ถึง 10 ปี โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
แต่ถ้าที่ดินเดิมเป็นเพียงที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง เช่น หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็นต้น กรณีนี้ที่งอกก็เป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเช่นกัน หากมีการแย่งการครอบครองก็ต้องฟ้องเอาคืนภายใน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2523 นาย ช. ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์หมาย จ.1 ให้นาง ม. ที่ดินแปลงนี้ทิศใต้ติดทะเลสาบ เมื่อที่ดินหลุดเป็นสิทธิของนาง ม. แล้ว นาง ม. ได้จดทะเบียนขายให้จำเลยทั้งแปลง คือที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงินในแผนที่กลางซึ่งโจทก์จำเลยรับกันว่าเป็นที่ของจำเลย ที่ดินพิพาทภายในเส้นสีแดงในแผนที่กลางเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.1 จำเลยซึ่งมีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.1 จึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาทด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
ที่ดินซึ่งถูกน้ำเซาะพังจนเปลี่ยนสภาพเป็นทางน้ำแล้ว ย่อมเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน แต่ถ้าสภาพทางกายภาพกลายเป็นทางน้ำ แต่เจ้าของยังคงสงวนสิทธิความเป็นเจ้าของ ที่ดินนั้นก็ไม่เป็นสาธารณะของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2490 ที่วิวาทเปลี่ยนสภาพกลายเป็นทางน้ำแล้วก็จะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ภายหลังผู้ใดจะได้กรรมสิทธิที่ตรงกัน ก็ต้องเป็นไปตาม ก.ม.ว่าด้วยการได้มาแห่งกรรมสิทธิ์ แต่ควรจะฟังว่าที่พิพาทเคยเป็นทางน้ำมาแล้วหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิจารณาจากแง่แห่งข้อเท็จจริงหลายประการ เพียงแต่ตลิ่งพังทลายลงแม่น้ำชั่วคราว และยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของ อาจยังไม่พอที่จะถือว่าตรงนั้นเป็นทางน้ำก็ได้ ที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่คู่ความแถลงไว้ ยังมิได้ฟังคำพยานในข้ออื่นๆ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่กระจ่างแจ่มใส จึงพิพากษาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปให้เต็มประเด็น แล้วพิพากษาใหม่
จำเลยให้การตั้งประเด็นต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่า ตามหลักฐานที่ปรากฏในรูปแผนที่โฉนดที่ดินเลขที่ 1837 ระบุว่า ด้านทิศตะวันตกของที่ดินจดชายทะเล ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า "ที่ชายทะเล" หมายถึง "เขตระหว่างแนวน้ำทะเลต่ำสุดกับแนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุด" ซึ่งแสดงว่า แต่เดิมที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกที่เกิดที่งอกนั้นติดชายทะเลที่น้ำท่วมถึง ที่ดินที่น้ำขึ้นลงดังกล่าว (ชายหาด) ย่อมเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทประชาชนใช้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมิได้อยู่ติดกับทะเล แต่มีชายทะเล (ชายหาด) กั้นอยู่ระหว่างที่ดินของโจทก์กับพื้นน้ำทะเล ที่ดินที่งอกขึ้นจากชายทะเลดังกล่าว จึงเป็นที่ดินที่งอกขึ้นจากที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่งอกดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพื้นที่ที่ดินที่งอกขึ้นมา ตามคำให้การของจำเลยเช่นว่านี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่งอกริมตลิ่งที่ดินพิพาท มิใช่ที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ โดยอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่งอกริมตลิ่งพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ชายทะเล ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หาใช่เป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1837 ของโจทก์ไม่ ส่วนที่จำเลยนำสืบว่าที่ชายหาดเป็นที่สาธารณประโยชน์ เนื่องจาก ข. เจ้าของที่ดินเดิมตกลงอุทิศให้แก่อำเภอบางละมุงนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่จำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้อเถียงตามคำให้การจำเลยในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่งอกริมตลิ่งพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่สาธารณประโยชน์นั่นเอง จึงหาใช่เป็นการนำสืบและพิพากษาคดีนอกฟ้องนอกประเด็นอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ไม่
(4) ในฤดูน้ำปกติน้ำท่วมไม่ถึง ถ้าน้ำท่วมถึงก็ไม่ใช่ที่งอก แต่เป็นที่ชายตลิ่งซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2506 โจทก์ซื้อที่ดิน(ที่มือเปล่า)จากผู้อื่น ด้านยาวทิศใต้จดถนนหลวงด้านกว้างทิศตะวันออกจดคลอง แล้วให้จำเลยเช่าโดยระบุว่า เช่าเพื่อปลูกอาศัย จำเลยใช้ที่ของโจทก์ทำคอกเป็ดและเลี้ยงเป็ด แต่ปลูกโรงเรือนอยู่ในที่ดินต่อกับเขตที่ของโจทก์ออกไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ซึ่งน้ำในลำคลองท่วมถึงเป็นปกติเกือบตลอดปี ที่ซึ่งจำเลยปลูกโรงเรือนนี้ย่อมเป็นที่ชายตลิ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่งตามมาตรา 1308 แม้โจทก์จะได้ครอบครองที่รายนี้มา 10 ปีเศษแล้ว แต่เมื่อตรงที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโจทก์ก็จะอ้างสิทธิครอบครองว่าเป็นของตนหาได้ไม่
เจ้าของที่ดินซึ่งเกิดที่งอก ย่อมได้มาซึ่งที่งอกริ่มตลิ่งตามมาตรา 1308 ตามหลักส่วนควบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326-1327/2506 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1308 ถือได้ว่ากฎหมายให้เจ้าของที่ดินริมตลิ่งได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่งอกออกไปโดยลักษณะเป็นส่วนควบของที่ดินริมตลิ่ง และถือว่าเป็นที่ดินอยู่ในโฉนดของที่ดินริมตลิ่งด้วย
ข้อสัญญาจำนองซึ่งกล่าวว่า "สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแปลงนี้ไม่มีสิ่งใดยกเว้นจำนองด้วยทั้งสิ้น" นี้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 719 แปลความได้ว่าหมายถึง สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่มีอยู่บนที่ดินจำนองในขณะทำสัญญาจำนองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าบ้านที่พิพาทนั้นน้ำท่วมถึง ก็ยังไม่มีสภาพเป็นที่งอกในขณะทำสัญญาจำนอง บ้านนั้นก็มิใช่เป็นสิ่งปลูกสร้างตามข้อสัญญาจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2539 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 กำหนดให้ทึ่งอกริมตลิ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ตั้งอยู่ริมตลิ่ง เมื่อที่งอกอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงดังกล่าวและเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. เจ้าของที่ดินโดยหลักส่วนควบด้วยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องรังวัดขึ้นทะเบียนว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเดิมเสียก่อนแล้วจึงจะเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การที่ ส. ขายที่งอกให้โจทก์ ถือว่าได้แบ่งที่ดินตามโฉนดนั้นขายแก่โจทก์ไม่ใช่เป็นการขายที่ดินมือเปล่า โจทก์กับ ส.เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายกันเองจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่งอก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยออกไปจากที่งอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2546 ส. โอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 10734 อันเป็นที่ดินแปลงเดิมที่เกิดที่งอกให้แก่บริษัท บ. เมื่อปี 2519 ตั้งแต่ยังไม่ได้รับโฉนดของที่งอกที่ขอออกไว้ ขณะที่โอนที่ดินแปลงเดิมไปนั้น ที่งอกริมตลิ่งเริ่มเกิดมีขึ้นแล้ว การเกิดมีที่งอกขึ้นมาในที่ดินย่อมจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 ที่บัญญัติว่า "ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น" เมื่อที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกได้โอนให้บริษัท บ. ไปแล้วในระหว่างนี้ ด้วยความสมัครใจของ ส. เอง ที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกย่อมตกติดไปเป็นของผู้ซื้อ โดยผลของบทกฎหมายดังกล่าว ส. พ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ ทั้งที่ดินแปลงเดิมที่เกิดมีที่งอก และที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกไปจนหมดสิ้น แม้ว่าต่อมาในปี 2522 ได้มีการออกโฉนดสำเร็จบริบูรณ์เป็นชื่อของ ส. ก็ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกนั้นไป และไม่มีอำนาจที่จะขายที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส. ผู้โอน และเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 10734 อันเป็นที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกริมตลิ่งจากเจ้าของเดิมมาโดยถูกต้อง ทำให้ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่งอกนั้นด้วยโดยผลของกฎหมาย
ถ้าที่ดินเดิมเป็นที่ดินที่มีโฉนด ที่งอกริ่มตลิ่งก็เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินนั้น การอ้างการครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ก็จะต้องครอบครองครบ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2543 เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งที่น้ำท่วมถึงจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1304 (2) ที่พิพาทเพิ่งกลายเป็นที่งอกหลังจากมีการสร้างถนน ดังนั้น ก่อนหน้าที่พิพาทเป็นที่งอกแม้โจทก์จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ หลังจากที่พิพาทกลายเป็นที่งอกอันเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว โจทก์ครอบครองไม่ถึง 10 ปี โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
แต่ถ้าที่ดินเดิมเป็นเพียงที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง เช่น หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็นต้น กรณีนี้ที่งอกก็เป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเช่นกัน หากมีการแย่งการครอบครองก็ต้องฟ้องเอาคืนภายใน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2523 นาย ช. ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์หมาย จ.1 ให้นาง ม. ที่ดินแปลงนี้ทิศใต้ติดทะเลสาบ เมื่อที่ดินหลุดเป็นสิทธิของนาง ม. แล้ว นาง ม. ได้จดทะเบียนขายให้จำเลยทั้งแปลง คือที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงินในแผนที่กลางซึ่งโจทก์จำเลยรับกันว่าเป็นที่ของจำเลย ที่ดินพิพาทภายในเส้นสีแดงในแผนที่กลางเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.1 จำเลยซึ่งมีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.1 จึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาทด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
ที่ดินซึ่งถูกน้ำเซาะพังจนเปลี่ยนสภาพเป็นทางน้ำแล้ว ย่อมเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน แต่ถ้าสภาพทางกายภาพกลายเป็นทางน้ำ แต่เจ้าของยังคงสงวนสิทธิความเป็นเจ้าของ ที่ดินนั้นก็ไม่เป็นสาธารณะของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2490 ที่วิวาทเปลี่ยนสภาพกลายเป็นทางน้ำแล้วก็จะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ภายหลังผู้ใดจะได้กรรมสิทธิที่ตรงกัน ก็ต้องเป็นไปตาม ก.ม.ว่าด้วยการได้มาแห่งกรรมสิทธิ์ แต่ควรจะฟังว่าที่พิพาทเคยเป็นทางน้ำมาแล้วหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิจารณาจากแง่แห่งข้อเท็จจริงหลายประการ เพียงแต่ตลิ่งพังทลายลงแม่น้ำชั่วคราว และยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของ อาจยังไม่พอที่จะถือว่าตรงนั้นเป็นทางน้ำก็ได้ ที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่คู่ความแถลงไว้ ยังมิได้ฟังคำพยานในข้ออื่นๆ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่กระจ่างแจ่มใส จึงพิพากษาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปให้เต็มประเด็น แล้วพิพากษาใหม่