มาตรา 237 "เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน"
หลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237
ผู้ที่จะฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องอยู่นั้นอาจมาจากมูลสัญญาหรือมูลละเมิด หรือมูลหนี้อย่างอื่นก็ได้ ทั้งนี้ เจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเพิกถอนตามมาตรา 237 นี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิทางศาลแล้วแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2564 จำเลยที่ 1 เป็นผู้คํ้าประกันตามสัญญาเช่าซื้อโดยตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนดจึงตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยที่ 1 ย่อมมีภาระหนี้ที่ต้องชำระแทนผู้เช่าซื้อตามสัญญาคํ้าประกัน และถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตั้งแต่ผู้เช่าซื้อผิดนัดเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 (เดิม) จำเลยที่ 1 จะทราบถึงการผิดนัดของผู้เช่าซื้อลูกหนี้หรือไม่ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้คํ้าประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาภายหลังผู้เช่าซื้อผิดนัด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14934/2557 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วมีระยะเวลาห่างกันเพียง 1 เดือนเศษ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เมื่อเป็นการให้โดยเสน่หาจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบหรือไม่ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว 1 ไร่ และต่อมาจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 ทั้งแปลง อันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงต้องเพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองเท่ากับจำนวนเนื้อที่ตามที่จำเลยที่ 1 ขายให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองโดยไม่ระบุเนื้อที่เท่ากับเป็นการเพิกถอนการโอนทั้งแปลงย่อมเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15037/2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14094/2555 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) อันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ. ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
(2) ลูกหนี้ทำนิติกรรมขึ้นมาภายหลัง
ลูกหนี้มาทำนิติกรรมขึ้นภายหลังจากก่อหนี้กับเจ้าหนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19413/2555 แม้การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทระบุว่าเป็นการขายก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เบิกความทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 รวบรวมเงินไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจาก ม. จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวันเดียวกัน การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมิใช่เป็นการซื้อขายเพราะมิได้มีการชำระราคากันจริง แต่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา ส่วนการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 หาเงินมาไถ่ถอนที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการกระทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาของจำเลยที่ 4 จะถือเอาการที่ต้องไถ่ถอนจำนองเองเป็นค่าตอบแทนการโอนหาได้ไม่ เมื่อเป็นการโอนให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์ดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้
(3) นิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นต้องเกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น
ถ้าไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินแม้จะมีผลกระทบกับกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็เพิกถอนไม่ได้ เช่น การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูนี้ การอุปการะเลี้ยงดูเกิดจากสถานะของบุคคลไม่ใช่เกิดจากนิติกรรม หรือจดทะเบียนหย่าต้องแบ่งแยกทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2553 การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้ เมื่อโจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาและฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมทราบว่าตกเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะให้โจทก์บังคับคดีได้อีกนอกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้
(4) นิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นต้องทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ความเสียเปรียบ อาจเกิดจากการทำนิติกรรมที่ทำให้กองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นลดลง เสื่อมค่าเกิดภาระแก่กองทรัพย์สิน หรือทำให้การยึดนั้นออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำลง เป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12781/2557 เมื่อพิจารณาทรัพย์สินต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ และมีอยู่ก่อนอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ ทั้งมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทที่จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยที่ 2 ประกอบกับรายได้ประจำของจำเลยที่ 1 ย่อมเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินฝากไปซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือนถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด เช่นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเพราะเป็นการกระทำที่ไม่ทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2554 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลใดโดยทายาทผู้ได้รับทรัพย์มรดกไม่ยินยอม แม้จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ทั้งห้ามาฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืน จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เพราะการที่จะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้นั้น จำเลยที่ 1 ผู้โอนจะต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว แต่การโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552 แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกปัญหาว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ขึ้นอ้างในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
(5) ลูกหนี้ต้องรู้ว่านิติกรรมที่ทำขึ้นนั้นทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ
โดยลูกหนี้ต้องรู้ก่อนหรือในขณะทำนิติกรรมนั้นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11188/2558 การที่บุคคลหนึ่งเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนอันตนจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าเป็นตัวแทนของตนตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 821 นั้น นอกจากจะมีการแสดงออกว่าเป็นตัวแทนของบุคคลใดแล้ว บุคคลภายนอกที่รับติดต่อกิจการด้วยจะต้องรับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของบุคคลนั้นที่มีการแสดงออกว่าเป็นตัวการด้วย ผู้ที่มีการแสดงออกว่าเป็นตัวการ จึงจะต้องรับผิดชอบเสมือนเป็นตัวการ ถ้าหากบุคคลภายนอกที่รับติดต่อกิจการด้วย มิได้รับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของบุคคลอื่น แต่ยอมติดต่อโดยเชื่อถือผู้ที่มาติดต่อด้วยอย่างผู้มาติดต่อเป็นเจ้าของกิจการนั้นเองแล้ว ก็ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีที่บุคคลคนหนึ่งเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งเป็นตัวแทน หรือรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองเป็นผู้แทนตน อันตนจะต้องพลอยรับผิดชอบเสมือนเป็นตัวการไปด้วย และต้องถือเป็นกรณีที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นติดต่อกับบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวเอง ไม่มีการพาดพิงไปถึงบุคคลใดให้ต้องรับผิดชอบด้วย ข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์เป็นการที่จำเลยร่วมที่ 1 บังคับให้จำเลยแสดงออกแก่โจทก์ทำให้โจทก์เชื่อว่าการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นการกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 เอง จึงเป็นการที่จำเลยร่วมที่ 1 เชิดจำเลยเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยร่วมที่ 1 จะยกเหตุการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมที่ 1 เพื่อจำเลยจะได้มีเงินมาชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 ตามเงื่อนไขสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นหรือตัดสินใจในการกำหนดราคาซื้อขายหรือเข้าถือเอาประโยชน์จากการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเอง มาเป็นเหตุอ้างปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายเพราะการนี้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ทราบว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทมาก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยร่วมที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วมที่ 2 นั้น จำเลยร่วมที่ 2 ย่อมทราบแล้วว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่จะต้องรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบอยู่ก่อนรับโอนที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9740/2558 ขณะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้จำเลยและผู้ร้องสอดทราบแล้วว่า โจทก์ยื่นคำขออายัดที่ดินเนื่องจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 23 มกราคม 2555 แต่จำเลยไม่ยอมมาโอนตามสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำขออายัดมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2555 และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จำเลยและผู้ร้องสอดรับทราบและยืนยันให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้ หากเกิดความเสียหายใดๆ ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าเงื่อนไขที่โจทก์ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2555 จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินจนเจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว แล้วจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไป จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าทำให้โจทก์ไม่อาจที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพิพาท ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอจะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับว่าไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีรายได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824/2553 การทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานดำเนินการรับจดทะเบียนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเรื่องที่โจทก์แจ้งสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคขอให้ระงับการทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือก่อนจดทะเบียน ต้องถือว่าขณะทำนิติกรรมจำเลยที่ 2 รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงใช้สิทธิขอเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2553 การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้ เมื่อโจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาและฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมทราบว่าตกเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะให้โจทก์บังคับคดีได้อีกนอกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้
(6) ผู้รับนิติกรรมที่เป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้ลาภงอกโดยเสียค่าตอบแทนต้องรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2559 การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย..."แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าขณะที่ทำนิติกรรมจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนั้น จำเลยที่ 3 รู้ว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ให้สิทธิโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืน ดังนี้ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในคำฟ้อง ยังไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ตามคำขอบังคับของโจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ได้ ทั้งนี้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ในเหตุนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2553 ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติว่า ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการในขอบอำนาจกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว กิจการดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการส่วนตัว แต่เมื่อได้ความว่า ในการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ โดยมอบอำนาจให้ ว. ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายในเงื่อนเวลาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันอยู่และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542 อันเป็นเวลาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมทราบดีว่าจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การใช้สิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอ้างสิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายนี้มาต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่
จำเลยที่ 4 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนการได้มาโดยสุจริตกับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้และต้องเสียเปรียบจากการจดทะเบียนนั้นก็ตาม โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนนั้นได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6026/2552 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทไม่ได้มีข้อสัญญาห้ามมิให้นำสินค้าของโจทก์คือถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาท อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์โจทก์ซื้อมาเพื่อทำการค้า การขายแก๊สหุงต้มเป็นอาชีพสุจริตไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เหมือนกับการขายยาเสพติด แม้การขนย้ายถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาทจะไม่ได้แจ้งต่อทางราชการ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพราะเป็นคนละส่วนกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงต้องเสียค่าปรับให้โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท
หลังจากโจทก์โอนขายอาคารพาณิชย์ของตนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในอาคารพิพาท และจำเลยที่ 2 รู้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ตน จำเลยที่ 2 รู้ถึงความจริงข้อนี้อันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5572/2552 แม้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจะเป็นเพียงบุคคลสิทธิ แต่การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 5 เพื่อตีใช้หนี้ค่าวัสดุก่อสร้างให้จำเลยที่ 5 ไปโดยจำเลยที่ 5 รู้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนจากโจทก์แล้วนั้น เป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้การโอนที่ดินพิพาทจะได้มีการจดทะเบียนแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 5 รับโอนไว้โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 5 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 1300 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะกรณีผู้รับโอนเสียค่าตอบแทนและรับโอนมาโดยสุจริต เท่านั้น
(7) เจ้าหนี้ต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม โดยต้องฟ้องทั้งลูกหนี้และผู้รับนิติกรรมนั้นด้วยเป็นจำเลยร่วมกัน
จะฟ้องเพียงลูกหนี้ไม่ได้ และหากมีการโอนทรัพย์สินไปยังบุคคลภายนอกแล้วก็ต้องฟ้องผู้รับโอนด้วย และนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นนั้นแม้จะมีคำพิพากษาในคดีอื่นรับรองแล้วก็สามารถเพิกถอนได้ เพราะเป็นการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม มิใช่เพิกถอนคำพิพากษา ซึ่งในขณะฟ้องคดีหากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครบถ้วนแล้ว ศาลก็พิจารณาคดีต่อไม่ได้ เพราะถือว่าหนี้ของเจ้าหนี้นั้นระงับแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2551 การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 นั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมคือลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมเป็นจำเลยจะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลก็ไม่มีผลผูกพันลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมที่ทำกับ อ. ลูกหนี้ของโจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินกับจำเลยที่ 1 เป็นจำเลย มิได้ฟ้อง อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย แม้ อ. ผู้ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จะถึงแก่ความตายไปแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรและเป็นผู้ดูแลรักษา อ. ตลอดมา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำขึ้นเพื่อฉ้อฉลโจทก์ ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น เป็นเพียงการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. เมื่อโจทก์มิได้ฟ้อง อ. หรือทายาทของ อ. โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
(2) นิติกรรมที่ถูกเพิกถอนนั้นถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย ถ้านิติกรรมนั้นเป็นการโอนทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นย่อมกลับคืนสู่กองทรัพย์สินเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคน
(3) ผู้รับนิติกรรมไม่ได้สิทธิตามนิติกรรมนั้น
(4) สำหรับบุคคลภายนอกนั้น การเพิกถอนการฉ้อฉลไม่มีผลกระทบกับบุคคลภายนอกที่ได้สิทธิมาก่อนเริ่มฟ้องคดีเพิกถอน ยกเว้นสิทธิของบุคคลภายนอกเกิดจากการให้โดยเสน่หา อย่างไรก็ตามบุคคลภายนอกต้องสุจริตด้วย
มาตรา 238 "การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอก อันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน
อนึ่ง ความที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าสิทธินั้นได้มาโดยเสน่หา"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2546 เอกสารหมาย จ. 4 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างอิงและยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามข้อ 15 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ดังนั้น แม้ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความถึงเอกสาร ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถหยิบยกเอกสารดังกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2540 โจทก์มีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 ให้เสร็จเด็ดขาดไป เหตุที่ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันนัดเกิดจากการบิดพลิ้วของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ไปตามกำหนดนัด ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่เคยบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแก่โจทก์ และตั้งแต่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทมาจนกระทั่งขายให้จำเลยร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองแทน ผิดปกติวิสัยผู้ที่ทำการซื้อขายที่ดินกันโดยทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่ามีการซื้อขายกันโดยสุจริตการที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
ผู้ได้ลาภงอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 หมายถึงผู้ที่เป็นคู่กรณีทำนิติกรรมกับลูกหนี้โดยตรง ส่วนบุคคลภายนอกในมาตรา 238 เป็นผู้ที่ได้รับโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จำเลยร่วมทั้งสองเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินพิพาทของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จึงเป็นบุคคลภายนอกตามความหมายของมาตรา 238 หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5 โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18346/2556 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าการที่ ห. กับ ส. สมคบกันโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ และขอให้เพิกถอนสัญญาระหว่าง ห. กับ ส. และจำเลยเสีย คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เพราะโจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย หาใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมใดที่ทำขึ้นอันเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องขอเรียกทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2551 จำเลยที่ 1 มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. จึงเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาททุกคนเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะนำที่ดินพิพาทส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ไปขายให้แก่ผู้ใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฉะนั้นแม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ไม่ได้สิทธิเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์คืน จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความเรียกคืน ไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 จึงนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 240 มาใช้บังคับไม่ได้
จำเลยที่ 2 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2550 การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดกับจำเลยที่ 1 โดยก่อนจะมีการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลยที่ 2 รวม 10 ฉบับ เป็นเงิน 597,000 บาท ภายหลังจากเช็คถึงกำหนดชำระ จำเลยที่ 2 นำเช็คทั้งสิบฉบับไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน ซึ่งจำเลยที่ 2 รับเช็คไว้ถึง 10 ฉบับ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีอาชีพปล่อยเงินกู้ อีกทั้งไม่เคยรับแลกเช็ค เพิ่งทำครั้งนี้เป็นครั้งแรก การที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 จึงผิดปกติวิสัยหลายประการ ประการแรก คือ พฤติการณ์ที่ลุงของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่กล้าให้จำเลยที่ 1 แลกเช็ค แต่แนะนำให้จำเลยที่ 1 นำเช็คมาแลกเงินสดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานของตนเอง ประการต่อมาเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาแลกเงินสดทั้งสิบฉบับล้วนเป็นเช็คของคนอื่น ไม่ใช่เช็คของจำเลยที่ 1 และเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดแทนที่จำเลยที่ 2 จะรีบนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินทันที กลับปล่อยเวลาล่วงเลยไป จึงเพิ่งนำไปเรียกเก็บเงินพร้อมกัน และต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองต่อจำเลยที่ 3 ในวันเดียวกัน อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ทำบันทึกว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับโอนห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ตามเช็คทั้งสิบฉบับ รวมเป็นเงิน 597,100 บาท และหนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวขัดต่อเหตุผล เพราะกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่จำเลยที่ 2 รับโอนมีราคาประมาณ 400,000 บาท อีกทั้งยังจำนวนแก่จำเลยที่ 3 เป็นประกันหนี้อยู่ประมาณ 270,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์แล้วจึงยังต้องรับภาระชำระหนี้จำนองดังกล่าวด้วย แต่จำเลยที่ 2 กลับทำบันทึกว่า หนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ทั้งช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด อยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ดังกล่าว จึงเป็นข้อบ่งชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยรู้ว่าจะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์
โจทก์ได้ไปตรวจสอบเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่สำนักงานที่ดิน เขตลาดพร้าว วันที่ 2 มีนาคม 2542 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้จำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่ 2 มีนาคม 2542 ถึงวันฟ้อง จึงเป็นระยะเวลาไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2547 จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยได้มีการส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองเข้าซ่อมแซมครอบครองตลอดมา อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีผลผูกพันบังคับต่อกันได้แล้ว
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14934/2557 การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วมีระยะเวลาห่างกันเพียง 1 เดือนเศษ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เมื่อเป็นการให้โดยเสน่หาจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบหรือไม่ว่าการทำนิติกรรมดังกล่าวเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว 1 ไร่ และต่อมาจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 ทั้งแปลง อันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงต้องเพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองเท่ากับจำนวนเนื้อที่ตามที่จำเลยที่ 1 ขายให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองโดยไม่ระบุเนื้อที่เท่ากับเป็นการเพิกถอนการโอนทั้งแปลงย่อมเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15037/2555 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14094/2555 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) อันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ. ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
(2) ลูกหนี้ทำนิติกรรมขึ้นมาภายหลัง
ลูกหนี้มาทำนิติกรรมขึ้นภายหลังจากก่อหนี้กับเจ้าหนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19413/2555 แม้การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทระบุว่าเป็นการขายก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เบิกความทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 รวบรวมเงินไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจาก ม. จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ในวันเดียวกัน การโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมิใช่เป็นการซื้อขายเพราะมิได้มีการชำระราคากันจริง แต่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา ส่วนการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 หาเงินมาไถ่ถอนที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการกระทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาของจำเลยที่ 4 จะถือเอาการที่ต้องไถ่ถอนจำนองเองเป็นค่าตอบแทนการโอนหาได้ไม่ เมื่อเป็นการโอนให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์ดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้
(3) นิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นต้องเกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น
ถ้าไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินแม้จะมีผลกระทบกับกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็เพิกถอนไม่ได้ เช่น การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูนี้ การอุปการะเลี้ยงดูเกิดจากสถานะของบุคคลไม่ใช่เกิดจากนิติกรรม หรือจดทะเบียนหย่าต้องแบ่งแยกทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2553 การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้ เมื่อโจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาและฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมทราบว่าตกเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะให้โจทก์บังคับคดีได้อีกนอกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้
(4) นิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นต้องทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ความเสียเปรียบ อาจเกิดจากการทำนิติกรรมที่ทำให้กองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นลดลง เสื่อมค่าเกิดภาระแก่กองทรัพย์สิน หรือทำให้การยึดนั้นออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำลง เป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12781/2557 เมื่อพิจารณาทรัพย์สินต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ และมีอยู่ก่อนอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ ทั้งมีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทที่จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลยที่ 2 ประกอบกับรายได้ประจำของจำเลยที่ 1 ย่อมเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินฝากไปซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือนถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด เช่นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเพราะเป็นการกระทำที่ไม่ทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2554 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลใดโดยทายาทผู้ได้รับทรัพย์มรดกไม่ยินยอม แม้จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ทั้งห้ามาฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืน จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เพราะการที่จะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้นั้น จำเลยที่ 1 ผู้โอนจะต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว แต่การโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2552 แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกปัญหาว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ขึ้นอ้างในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์กับจำเลยที่ 2 คนละครึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งได้
(5) ลูกหนี้ต้องรู้ว่านิติกรรมที่ทำขึ้นนั้นทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ
โดยลูกหนี้ต้องรู้ก่อนหรือในขณะทำนิติกรรมนั้นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11188/2558 การที่บุคคลหนึ่งเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนอันตนจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าเป็นตัวแทนของตนตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 821 นั้น นอกจากจะมีการแสดงออกว่าเป็นตัวแทนของบุคคลใดแล้ว บุคคลภายนอกที่รับติดต่อกิจการด้วยจะต้องรับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของบุคคลนั้นที่มีการแสดงออกว่าเป็นตัวการด้วย ผู้ที่มีการแสดงออกว่าเป็นตัวการ จึงจะต้องรับผิดชอบเสมือนเป็นตัวการ ถ้าหากบุคคลภายนอกที่รับติดต่อกิจการด้วย มิได้รับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของบุคคลอื่น แต่ยอมติดต่อโดยเชื่อถือผู้ที่มาติดต่อด้วยอย่างผู้มาติดต่อเป็นเจ้าของกิจการนั้นเองแล้ว ก็ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีที่บุคคลคนหนึ่งเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งเป็นตัวแทน หรือรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองเป็นผู้แทนตน อันตนจะต้องพลอยรับผิดชอบเสมือนเป็นตัวการไปด้วย และต้องถือเป็นกรณีที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นติดต่อกับบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวเอง ไม่มีการพาดพิงไปถึงบุคคลใดให้ต้องรับผิดชอบด้วย ข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์เป็นการที่จำเลยร่วมที่ 1 บังคับให้จำเลยแสดงออกแก่โจทก์ทำให้โจทก์เชื่อว่าการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นการกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 เอง จึงเป็นการที่จำเลยร่วมที่ 1 เชิดจำเลยเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยร่วมที่ 1 จะยกเหตุการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมที่ 1 เพื่อจำเลยจะได้มีเงินมาชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 ตามเงื่อนไขสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นหรือตัดสินใจในการกำหนดราคาซื้อขายหรือเข้าถือเอาประโยชน์จากการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเอง มาเป็นเหตุอ้างปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายเพราะการนี้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ทราบว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทมาก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยร่วมที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยร่วมที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วมที่ 2 นั้น จำเลยร่วมที่ 2 ย่อมทราบแล้วว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่จะต้องรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบอยู่ก่อนรับโอนที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9740/2558 ขณะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้จำเลยและผู้ร้องสอดทราบแล้วว่า โจทก์ยื่นคำขออายัดที่ดินเนื่องจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 23 มกราคม 2555 แต่จำเลยไม่ยอมมาโอนตามสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำขออายัดมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2555 และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จำเลยและผู้ร้องสอดรับทราบและยืนยันให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้ หากเกิดความเสียหายใดๆ ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าเงื่อนไขที่โจทก์ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2555 จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินจนเจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว แล้วจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไป จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าทำให้โจทก์ไม่อาจที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพิพาท ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอจะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับว่าไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีรายได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824/2553 การทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานดำเนินการรับจดทะเบียนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเรื่องที่โจทก์แจ้งสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคขอให้ระงับการทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือก่อนจดทะเบียน ต้องถือว่าขณะทำนิติกรรมจำเลยที่ 2 รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงใช้สิทธิขอเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2553 การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้ เมื่อโจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาและฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมทราบว่าตกเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะให้โจทก์บังคับคดีได้อีกนอกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้
(6) ผู้รับนิติกรรมที่เป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้ลาภงอกโดยเสียค่าตอบแทนต้องรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2559 การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย..."แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าขณะที่ทำนิติกรรมจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนั้น จำเลยที่ 3 รู้ว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ให้สิทธิโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืน ดังนี้ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในคำฟ้อง ยังไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ตามคำขอบังคับของโจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ได้ ทั้งนี้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ในเหตุนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2553 ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติว่า ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ตามบทบัญญัติดังกล่าว หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการในขอบอำนาจกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว กิจการดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการส่วนตัว แต่เมื่อได้ความว่า ในการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 นั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ โดยมอบอำนาจให้ ว. ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายในเงื่อนเวลาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันอยู่และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542 อันเป็นเวลาหลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมทราบดีว่าจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การใช้สิทธิของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอ้างสิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายนี้มาต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้ไม่
จำเลยที่ 4 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนการได้มาโดยสุจริตกับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้และต้องเสียเปรียบจากการจดทะเบียนนั้นก็ตาม โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนนั้นได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6026/2552 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทไม่ได้มีข้อสัญญาห้ามมิให้นำสินค้าของโจทก์คือถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาท อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์โจทก์ซื้อมาเพื่อทำการค้า การขายแก๊สหุงต้มเป็นอาชีพสุจริตไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เหมือนกับการขายยาเสพติด แม้การขนย้ายถังแก๊สหุงต้มเข้าไปในอาคารพิพาทจะไม่ได้แจ้งต่อทางราชการ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้เพราะเป็นคนละส่วนกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงต้องเสียค่าปรับให้โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท
หลังจากโจทก์โอนขายอาคารพาณิชย์ของตนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในอาคารพิพาท และจำเลยที่ 2 รู้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะโอนขายที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ตน จำเลยที่ 2 รู้ถึงความจริงข้อนี้อันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5572/2552 แม้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจะเป็นเพียงบุคคลสิทธิ แต่การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 5 เพื่อตีใช้หนี้ค่าวัสดุก่อสร้างให้จำเลยที่ 5 ไปโดยจำเลยที่ 5 รู้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนจากโจทก์แล้วนั้น เป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้การโอนที่ดินพิพาทจะได้มีการจดทะเบียนแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 5 รับโอนไว้โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 5 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 1300 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะกรณีผู้รับโอนเสียค่าตอบแทนและรับโอนมาโดยสุจริต เท่านั้น
(7) เจ้าหนี้ต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม โดยต้องฟ้องทั้งลูกหนี้และผู้รับนิติกรรมนั้นด้วยเป็นจำเลยร่วมกัน
จะฟ้องเพียงลูกหนี้ไม่ได้ และหากมีการโอนทรัพย์สินไปยังบุคคลภายนอกแล้วก็ต้องฟ้องผู้รับโอนด้วย และนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นนั้นแม้จะมีคำพิพากษาในคดีอื่นรับรองแล้วก็สามารถเพิกถอนได้ เพราะเป็นการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม มิใช่เพิกถอนคำพิพากษา ซึ่งในขณะฟ้องคดีหากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครบถ้วนแล้ว ศาลก็พิจารณาคดีต่อไม่ได้ เพราะถือว่าหนี้ของเจ้าหนี้นั้นระงับแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2551 การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 นั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมคือลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมเป็นจำเลยจะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้เพราะมิฉะนั้นแล้วคำพิพากษาของศาลก็ไม่มีผลผูกพันลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกจากนิติกรรมที่ทำกับ อ. ลูกหนี้ของโจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินกับจำเลยที่ 1 เป็นจำเลย มิได้ฟ้อง อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย แม้ อ. ผู้ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จะถึงแก่ความตายไปแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ อ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตายได้พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรและเป็นผู้ดูแลรักษา อ. ตลอดมา จึงเป็นไปไม่ได้ที่ อ. จะทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะขัดต่อเหตุผล ถือว่านิติกรรมดังกล่าวทำขึ้นเพื่อฉ้อฉลโจทก์ ทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น เป็นเพียงการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า อ. กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันทำนิติกรรมเพื่อฉ้อฉลโจทก์เท่านั้น มิใช่การบรรยายฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. เมื่อโจทก์มิได้ฟ้อง อ. หรือทายาทของ อ. โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
ผลของการเพิกถอนการฉ้อฉล
(1) ลูกหนี้ย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม ไม่ผูกพันที่จะต้องปฎิบัติตามนิติกรรมที่ถูกเพิกถอนนั้นอีกต่อไป(2) นิติกรรมที่ถูกเพิกถอนนั้นถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย ถ้านิติกรรมนั้นเป็นการโอนทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นย่อมกลับคืนสู่กองทรัพย์สินเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคน
(3) ผู้รับนิติกรรมไม่ได้สิทธิตามนิติกรรมนั้น
(4) สำหรับบุคคลภายนอกนั้น การเพิกถอนการฉ้อฉลไม่มีผลกระทบกับบุคคลภายนอกที่ได้สิทธิมาก่อนเริ่มฟ้องคดีเพิกถอน ยกเว้นสิทธิของบุคคลภายนอกเกิดจากการให้โดยเสน่หา อย่างไรก็ตามบุคคลภายนอกต้องสุจริตด้วย
มาตรา 238 "การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอก อันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน
อนึ่ง ความที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าสิทธินั้นได้มาโดยเสน่หา"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2546 เอกสารหมาย จ. 4 เป็นเอกสารที่โจทก์อ้างอิงและยื่นต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามข้อ 15 แห่งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ดังนั้น แม้ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความถึงเอกสาร ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถหยิบยกเอกสารดังกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
เอกสารหมาย จ. 4 เป็นหนังสือทั่วไปที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 แจ้งไปยังกรรมการผู้จัดการ ของธนาคารจำเลยที่ 4 รวมทั้งแจ้งถึงผู้จัดการธนาคารอื่นว่า จำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นตามบัญชีรายชื่อผู้ค้างชำระภาษีอากรดังกล่าว มีบัญชีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารหรือไม่ หากมีเป็นเงินฝากประเภทใด เลขที่บัญชีใด จำนวนเท่าใด แล้วแจ้งให้สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 10 ทราบ โดยไม่ได้แจ้งว่าโจทก์กำลังจะบังคับชำระหนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 จำนองไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 รู้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้จดทะเบียนรับจำนอง ที่ดินพิพาทโดยมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 4 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริต ก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2540 โจทก์มีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 ให้เสร็จเด็ดขาดไป เหตุที่ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันนัดเกิดจากการบิดพลิ้วของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ไปตามกำหนดนัด ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่เคยบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแก่โจทก์ และตั้งแต่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทมาจนกระทั่งขายให้จำเลยร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองแทน ผิดปกติวิสัยผู้ที่ทำการซื้อขายที่ดินกันโดยทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่ามีการซื้อขายกันโดยสุจริตการที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
ผู้ได้ลาภงอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 หมายถึงผู้ที่เป็นคู่กรณีทำนิติกรรมกับลูกหนี้โดยตรง ส่วนบุคคลภายนอกในมาตรา 238 เป็นผู้ที่ได้รับโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จำเลยร่วมทั้งสองเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินพิพาทของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จึงเป็นบุคคลภายนอกตามความหมายของมาตรา 238 หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5 โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล
มาตรา 240 "การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้อง เมื่อพ้นปีหนึ่ง นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น"คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18346/2556 แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าการที่ ห. กับ ส. สมคบกันโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ และขอให้เพิกถอนสัญญาระหว่าง ห. กับ ส. และจำเลยเสีย คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย เพราะโจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย หาใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมใดที่ทำขึ้นอันเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องขอเรียกทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2551 จำเลยที่ 1 มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. จึงเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนและมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาททุกคนเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะนำที่ดินพิพาทส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ไปขายให้แก่ผู้ใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ฉะนั้นแม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ไม่ได้สิทธิเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์คืน จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความเรียกคืน ไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 จึงนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 240 มาใช้บังคับไม่ได้
จำเลยที่ 2 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2550 การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดกับจำเลยที่ 1 โดยก่อนจะมีการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลยที่ 2 รวม 10 ฉบับ เป็นเงิน 597,000 บาท ภายหลังจากเช็คถึงกำหนดชำระ จำเลยที่ 2 นำเช็คทั้งสิบฉบับไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน ซึ่งจำเลยที่ 2 รับเช็คไว้ถึง 10 ฉบับ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีอาชีพปล่อยเงินกู้ อีกทั้งไม่เคยรับแลกเช็ค เพิ่งทำครั้งนี้เป็นครั้งแรก การที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 จึงผิดปกติวิสัยหลายประการ ประการแรก คือ พฤติการณ์ที่ลุงของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่กล้าให้จำเลยที่ 1 แลกเช็ค แต่แนะนำให้จำเลยที่ 1 นำเช็คมาแลกเงินสดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานของตนเอง ประการต่อมาเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาแลกเงินสดทั้งสิบฉบับล้วนเป็นเช็คของคนอื่น ไม่ใช่เช็คของจำเลยที่ 1 และเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดแทนที่จำเลยที่ 2 จะรีบนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินทันที กลับปล่อยเวลาล่วงเลยไป จึงเพิ่งนำไปเรียกเก็บเงินพร้อมกัน และต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองต่อจำเลยที่ 3 ในวันเดียวกัน อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ทำบันทึกว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับโอนห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ตามเช็คทั้งสิบฉบับ รวมเป็นเงิน 597,100 บาท และหนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวขัดต่อเหตุผล เพราะกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่จำเลยที่ 2 รับโอนมีราคาประมาณ 400,000 บาท อีกทั้งยังจำนวนแก่จำเลยที่ 3 เป็นประกันหนี้อยู่ประมาณ 270,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์แล้วจึงยังต้องรับภาระชำระหนี้จำนองดังกล่าวด้วย แต่จำเลยที่ 2 กลับทำบันทึกว่า หนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ทั้งช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด อยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ดังกล่าว จึงเป็นข้อบ่งชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยรู้ว่าจะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์
โจทก์ได้ไปตรวจสอบเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่สำนักงานที่ดิน เขตลาดพร้าว วันที่ 2 มีนาคม 2542 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้จำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่ 2 มีนาคม 2542 ถึงวันฟ้อง จึงเป็นระยะเวลาไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2547 จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยได้มีการส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองเข้าซ่อมแซมครอบครองตลอดมา อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีผลผูกพันบังคับต่อกันได้แล้ว
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240