กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีหลักดังนี้
(1) ผู้ใด
(2) กระทำโดยประการใด
(3) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
(4) โดยประมาท (ไม่ต้องมีเจตนา)
การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังทั้งๆที่สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 59 วรรคสี่ "กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่"
การกระทำนั้น ได้แก่ การเคลื่อนไหวและรวมถึงการงดเว้น ตามมาตรา 59 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7581/2561 การที่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมและดูแลความปลอดภัยของผู้ต้องหาแต่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการกระทำโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลคือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ชีวิตของผู้ตาย เมื่อจำเลยที่ 3 กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยที่ 3 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาท แม้มีเหตุเพลิงไหม้ทำให้เกิดผลคือความตายของผู้ตายด้วย ก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 3 และผลคือความตายของผู้ตายขาดตอนลง เพราะถ้าจำเลยที่ 3 อยู่ปฏิบัติหน้าที่ย่อมช่วยเหลือผู้ตายได้ทันเนื่องจากห้องทำงานของจำเลยที่ 3 อยู่หน้าห้องขังเยาวชนและติดกับห้องขังหญิง ความตายของผู้ตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2538 จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปิดกั้นถนนซึ่งมีทางรถไฟผ่านได้เปิดสวิตช์สัญญาณไฟ 5 ดวง และให้สัญญาณโคมไฟสีเขียวแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขับขบวนรถไฟเพื่อผ่าน แต่ไม่ได้นำแผงกั้นถนนไปปิดกั้นถนน เป็นสาเหตุทำให้รถยนต์โดยสารแล่นข้ามชนตู้โดยสารรถไฟ เป็นเหตุให้คนตาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2544 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจุดที่จำเลยจอดรถและเกิดเหตุชนกันอยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนนในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลามืดค่ำโดยไม่ได้เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอดทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นผลจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าจะฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วยจึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น
การกระทำนั้นประมาทหรือไม่ ต้องสมมุติบุคคลขึ้นมาคนหนึ่งนำมาเปรียบเทียบกับตัวผู้กระทำ คือ เป็นบุคคลที่อยู่ในภาวะเช่นเดียวกัน อยู่ในวิสัยเช่นเดียวกัน และมีพฤติการณ์อย่างเดียวกัน แล้วเปรียบเทียบดูว่าหากบุคคลที่สมมุติอยู่ในภาวะเช่นนั้น มีวิสัยเช่นเดียวกับผู้กระทำ และมีพฤติการณ์อย่างเดียวกันสามารถใช้ความระมัดระวังได้หรือไม่ ถ้าหากใช้ความระมัดระวังได้แต่ผู้กระทำไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง การกระทำนั้นย่อมเป็นการกระทำโดยประมาท
ผลที่เกิดขึ้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับการกระทำโดยประมาท (ผลโดยตรง)
การที่จำเลยที่ 3 นำสืบต่อสู้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและพยายามช่วยเหลือผู้ต้องหาทั้งสี่อย่างเต็มที่แล้วแต่ไม่สามารถช่วยได้ แสดงให้เห็นว่านอกจากจำเลยที่ 3 จะต่อสู้ว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องแล้วยังนำสืบต่อสู้ด้วยว่าไม่ได้กระทำโดยประมาท ข้อที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าหลงต่อสู้ ทำให้ไม่มีโอกาสนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้กระทำโดยประมาท จึงฟังไม่ขึ้น แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 3 เจตนาฆ่าผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาได้เพราะการกระทำโดยเจตนาและการกระทำโดยประมาทมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญและไม่ถือเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2516 จำเลยขับรถยนต์บรรทุกเสาไฟฟ้าโดยใช้ล้อพ่วง เมื่อล้อรถพ่วงหลุดทำให้เสาตกลงมาขวางถนน จนกระทั่งค่ำแล้วจำเลยก็ไม่ได้จัดให้มีโคมไฟหรือเครื่องสัญญาณอย่างอื่น เพื่อให้ผู้ใช้ถนนเห็นเสาที่ขวางถนนอยู่นั้น เป็นเหตุให้รถที่แล่นมาชนเสา มีคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาท และผลเสียหายเกิดขึ้นจากการที่จำเลยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นได้แต่หากระทำไม่ จำเลยจึงมีความผิดคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2538 จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปิดกั้นถนนซึ่งมีทางรถไฟผ่านได้เปิดสวิตช์สัญญาณไฟ 5 ดวง และให้สัญญาณโคมไฟสีเขียวแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขับขบวนรถไฟเพื่อผ่าน แต่ไม่ได้นำแผงกั้นถนนไปปิดกั้นถนน เป็นสาเหตุทำให้รถยนต์โดยสารแล่นข้ามชนตู้โดยสารรถไฟ เป็นเหตุให้คนตาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2544 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจุดที่จำเลยจอดรถและเกิดเหตุชนกันอยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนนในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลามืดค่ำโดยไม่ได้เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอดทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นผลจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าจะฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วยจึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น
การกระทำนั้นประมาทหรือไม่ ต้องสมมุติบุคคลขึ้นมาคนหนึ่งนำมาเปรียบเทียบกับตัวผู้กระทำ คือ เป็นบุคคลที่อยู่ในภาวะเช่นเดียวกัน อยู่ในวิสัยเช่นเดียวกัน และมีพฤติการณ์อย่างเดียวกัน แล้วเปรียบเทียบดูว่าหากบุคคลที่สมมุติอยู่ในภาวะเช่นนั้น มีวิสัยเช่นเดียวกับผู้กระทำ และมีพฤติการณ์อย่างเดียวกันสามารถใช้ความระมัดระวังได้หรือไม่ ถ้าหากใช้ความระมัดระวังได้แต่ผู้กระทำไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง การกระทำนั้นย่อมเป็นการกระทำโดยประมาท
ผลที่เกิดขึ้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับการกระทำโดยประมาท (ผลโดยตรง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7581/2561 การที่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมและดูแลความปลอดภัยของผู้ต้องหาแต่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการกระทำโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลคือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ชีวิตของผู้ตาย เมื่อจำเลยที่ 3 กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยที่ 3 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาท แม้มีเหตุเพลิงไหม้ทำให้เกิดผลคือความตายของผู้ตายด้วย ก็ไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 3 และผลคือความตายของผู้ตายขาดตอนลง เพราะถ้าจำเลยที่ 3 อยู่ปฏิบัติหน้าที่ย่อมช่วยเหลือผู้ตายได้ทันเนื่องจากห้องทำงานของจำเลยที่ 3 อยู่หน้าห้องขังเยาวชนและติดกับห้องขังหญิง ความตายของผู้ตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2502 เมื่อจำเลยรู้อยู่ว่าผู้ตายกำลังโหนตัวอยู่ข้างนอกรถด้านขวาและกำลังมีรถสวนมาด้วยความเร็ว จำเลยก็มิได้ชลอลดความเร็วลงหรือหยุดรถ เพียงแต่หักรถหลบไปในระยะกระชั้นชิด ผู้ตายจึงถูกรถที่สวนมาเฉี่ยวถึงแก่ความตาย ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เช่นนี้ เป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2511 เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยขับรถด้วยความประมาทชนเสาไม้ที่ปักริมทางแฉลบจะไปชนเสาไฟฟ้าอย่างแรงอันเป็นการหวาดเสียวและใกล้อันตรายแล้วแม้ผู้ตายจะกระโดดลงจากรถก่อน หากแต่ในระยะกระชั้นชิดกับที่รถจะเข้าชนเสาไฟฟ้าดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า และในที่สุดก็ได้เกิดขึ้นจริง ๆ ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ก็ต้องถือว่าเป็นผลอันเกิดใกล้ชิดกับเหตุที่จำเลยขับรถด้วยความประมาท จำเลยต้องมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5729/2556 ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก คือ (1) ผู้ใด (2) ฆ่า (3) ผู้อื่น กล่าวคือ รู้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการฆ่า และรู้ด้วยว่า วัตถุแห่งการกระทำคือผู้อื่นนั้นยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งปัญหาว่าจำเลยที่ 1 รู้หรือไม่ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วนั้น โจทก์ไม่ได้ฎีกา และฎีกาโจทก์รับว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลล่างว่าจำเลยที่ 1 พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายจนหมดสติแล้วนำไปทิ้งที่อ่างเก็บน้ำโดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 มิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดว่าผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย จะถือว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตามความใน ป.อ. มาตรา 59 วรรคสาม จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แต่กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามมาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12114/2556 การที่จำเลยนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปซ่อมรอยรั่วซึมของถังน้ำมัน โดยจำเลยไม่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบก่อน กลับแจ้งผู้ตายโดยตรงให้ซ่อมถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมัน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำงานที่มีขึ้นเพื่อความปลอดภัย และจำเลยไม่ได้บอกผู้ตายว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกน้ำมันเบนซินมาด้วย ทำให้ผู้ตายไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงาน เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิดระเบิดขึ้นและผู้ตายถึงแก่ความตาย นับเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียวที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาได้เกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วยไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ถ้าผลที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยประมาท หรือไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2510 จำเลยไม่ได้ขับรถเร็ว และทางลากไม้ที่ขับมานั้นเป็นทางจำกัดบังคับให้ขับโดยข้างหนึ่งเป็นคลอง อีกข้างหนึ่งเป็นเขาจะขับให้ห่างคลองอีกไม่ได้ เพราะติดเขา การที่ล้อพ่วงเอียงนั้นก็เนื่องจากที่ตรงนั้นเป็นหลุมเอาหินกองไว้ หินแตกเป็นเหตุให้ระดับล้อที่ผ่านไปทรุดต่ำลง เช่นนี้ หาใช่ความประมาทของจำเลยไม่ และรถที่จำเลยขับมาก็ไม่ได้คว่ำ ถ้าผู้ตายไม่ด่วนตัดสินใจกระโดยลงจากรถเหมือนคนอื่นก็คงไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2553 บริเวณที่เกิดเหตุเป็นสามแยกติดตั้งสัญญาณจราจรไฟ และขณะเกิดเหตุสัญญาณจราจรไฟเป็นสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้เลี้ยวขวา เมื่อได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้เลี้ยวขวารถทุกคันที่จะเลี้ยวขวาย่อมเคลื่อนที่แล่นเข้าสู่ทางร่วมทางแยกผ่านช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนทางมาไปได้ การที่จำเลยขับรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนมาก็เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเลี้ยวขวาแล่นผ่านช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนทางมาเท่านั้น แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากการกระทำของผู้ตายที่ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงแล่นเข้าชนรถโดยสารที่จำเลยเป็นผู้ขับโดยที่ไม่ว่าจำเลยหรือผู้ใดก็ไม่อาจคาดคิดได้ จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายประมาท การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2538 รถยนต์คันที่ ส. ขับมีผู้ตายทั้งสองนั่งโดยสารมาด้วย ส.ขับรถชนท้ายรถบรรทุกห้องเย็นอย่างแรงแล้วจึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ก. และ ท. ที่นั่งโดยสารมากับรถจำเลยในที่นั่งตอนหน้าได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย การที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจุดชนมากกว่า ก. และ ท. กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตายเช่นนี้ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสองมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย แต่น่าจะเป็นผลโดยตรงมาจากการที่ ส.ขับรถชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นมากกว่า จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 แต่มีความผิดตามมาตรา 390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2535 ตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้อง จำเลยขับรถยนต์โดยสารคันหมายเลขทะเบียน 80-6988 อุดรธานีมาถึงที่เกิดเหตุยางล้อหลังระเบิด จำเลยจึงนำรถเข้าจอดข้างทาง ในเวลาเดียวกัน นาย พ. ขับรถยนต์มาถึงที่เกิดเหตุ ชนเข้ากับท้ายรถของจำเลยที่จอดไว้เป็นเหตุให้เด็กชาย จ. ถึงแก่ความตายกับเป็นเหตุให้นาย ถ. นาย บ. และนาง ร. ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัส โดยรถยนต์โดยสารที่จำเลยขับยางล้อหลังระเบิดจำเลยจึงจอดรถยนต์ไว้ชิดไหล่ทางด้านซ้าย ล้อหน้าอยู่ที่ไหล่ทาง ส่วนล้อหลังด้านขวาอยู่บนถนน แล้วจำเลยได้หากิ่งไม้มาวางและเปิดสัญญาณไฟกระพริบ ถือได้ว่าจำเลยใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2556 โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำประมาทของจำเลยว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์ด้วยความเร็วและเปลี่ยนช่องเดินรถโดยกะทันหัน เข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ทางพิจารณาโจทก์ทั้งสองนำสืบว่า ก่อนเกิดเหตุมีรถจักรยานยนต์ที่ขับคู่กันมาเบียดรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับล้มลงในช่องเดินรถช่องที่ 1 ขณะผู้ตายกำลังจะลุกขึ้น จำเลยซึ่งขับรถตามหลังมาในช่องเดินรถที่ 2 ได้เปลี่ยนช่องเดินรถเข้ามาในช่องเดินรถที่ 1 โดยขณะขับรถจำเลยกำลังใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พูดคุย เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับชนผู้ตาย ดังนี้ เหตุที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลงไม่ได้เกิดจากการที่จำเลยขับรถเปลี่ยนช่องเดินรถมาเฉี่ยวชนตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้อง และขณะที่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนนั้น ผู้ตายและรถของผู้ตายล้มลงบนถนนแล้ว มิใช่ผู้ตายกำลังขับรถจักรยานยนต์อยู่บนถนนตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้อง รวมทั้งข้อที่โจทก์ทั้งสองนำสืบว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พูดคุยในขณะขับรถยนต์นั้น โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้กล่าวในฟ้อง ข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสองนำสืบเกี่ยวกับการกระทำประมาทของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำโดยประมาทของจำเลยตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายมาในฟ้อง ต้องห้ามมิให้ศาลพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
บางกรณีผู้กระทำอาจจะฝ่าฝืนบทกฎหมายที่กำหนดไว้ แต่ผู้กระทำได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว ย่อมไม่เป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2501 ว่าการฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับรถยนต์และการจราจร แม้จะกระทำโดยมิได้ตั้งใจซึ่งตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 43 บัญญัติว่าเป็นการกระทำโดยประมาท แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 หาได้บัญญัติเช่นนั้นไม่ จึงปรับเอาว่าจำเลยได้ทำให้ น. ตายโดยประมาท เพราะเหตุการฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2503 เรือยนต์จำเลยแท่นทวนน้ำแอบฝั่งขวาของคลองโดยถูกต้องตามกฎหมายเรือยนต์อีกลำหนึ่งแล่นตามน้ำสวนมาในเส้นทางเดินเรือของจำเลย บันทุกคนโดยสารเกินอันตรามากแล้ว เกิดชนกันในเวลาค่ำมือในเส้นทางของเรือจำเลยโดยเรือจำเลยไม่สามารถหลบหลีกได้ หัวเรือจำเลยชนถูกผู้โดยสารในเรือที่แล่นมาผิดทางถึงตาย ดังนี้ ถึงแม้เรือจำเลยไม่ได้จุดโคมไฟ จำเลยก็ไม่ผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท (คงผิดแต่ฐานไม่จุดโคมไฟตามพระราชบัญญัติการเดินเรือ ซึ่งไม่ใช่ผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดชนกันและทำให้คนตาย )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2558 ตามฟ้องที่จำเลยให้การรับสารภาพฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงในทางเดินรถของจำเลย จำเลยไม่ได้ขับล้ำเข้าไปในทางเดินรถสวน ส่วน ร. ขับรถจักรยานยนต์สวนทางมาโดยขับตามหลังรถอีแต๋นที่ บ. เป็นผู้ขับ แต่ ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ ร. ขับชนกับรถจำเลย หาก ร. ไม่ขับรถล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เหตุรถทั้งสองคันชนกันก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แม้จะฟังว่าจำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ก็ยังขับอยู่ในทางเดินรถของจำเลย และตามรายงานชันสูตรพลิกศพเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องระบุว่า ร. ขับรถตัดหน้ารถจำเลยเป็นเหตุให้ชนกัน แล้วรถจำเลยเสียหลักไปชนรถอีแต๋น แสดงว่า ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นในระยะกระชั้นชิดขณะที่รถจำเลยใกล้จะสวนทางกับรถอีแต๋น การที่รถจำเลยเสียหลักพุ่งชนรถอีแต๋น จึงเป็นผลโดยตรงจาก ร. ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิดเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย มิใช่ผลโดยตรงที่จำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้ายหรือไม่ชะลอความเร็ว จะถือว่าจำเลยมีส่วนประมาทด้วยหาได้ไม่ เพราะการที่รถจำเลยเสียการควบคุมไปชนรถอีแต๋นเป็นผลจากความประมาทอย่างร้ายแรงของ ร. ที่ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและรับอันตรายแก่กาย ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่การที่จำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่บรรทุกหินเต็มคันรถด้วยความเร็วสูงในทางแคบ ถือได้ว่าเป็นการขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157
การที่จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี ผู้ตายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย (ไม่มีส่วนประมาทด้วย)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2559 เหตุคดีนี้เกิดจากการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์แล่นแซงรถกระบะที่อยู่ด้านหน้าล้ำเข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายที่แล่นสวนทางมาในช่องเดินรถของผู้ตาย ซึ่งหากจำเลยไม่ขับรถจักรยานยนต์แล่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตายเหตุครั้งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็ว ก็อาจเป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 เท่านั้น ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำความผิดของจำเลย ประการสำคัญขณะเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นอยู่ในช่องเดินรถของตน การที่ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็วดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน แต่การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน และผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ผู้ตายหามีส่วนประมาทด้วยไม่ ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของผู้ตายย่อมมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19300/2556 การที่โจทก์ร่วมทั้งสี่ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 เป็นการยื่นคำร้องโดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องของพนักงานอัยการ เมื่อคำฟ้องของพนักงานอัยการบรรยายว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทด้วย โจทก์ร่วมทั้งสี่จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องโดยไม่จำต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย ผู้ตายจึงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เช่นนี้ ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และ 30
การที่จำเลยที่ 3 นำสืบต่อสู้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและพยายามช่วยเหลือผู้ต้องหาทั้งสี่อย่างเต็มที่แล้วแต่ไม่สามารถช่วยได้ แสดงให้เห็นว่านอกจากจำเลยที่ 3 จะต่อสู้ว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องแล้วยังนำสืบต่อสู้ด้วยว่าไม่ได้กระทำโดยประมาท ข้อที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าหลงต่อสู้ ทำให้ไม่มีโอกาสนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้กระทำโดยประมาท จึงฟังไม่ขึ้น แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 3 เจตนาฆ่าผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็ลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาได้เพราะการกระทำโดยเจตนาและการกระทำโดยประมาทมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญและไม่ถือเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2559 เหตุคดีนี้เกิดจากการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์แล่นแซงรถกระบะที่อยู่ด้านหน้าล้ำเข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายที่แล่นสวนทางมาในช่องเดินรถของผู้ตาย ซึ่งหากจำเลยไม่ขับรถจักรยานยนต์แล่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตายเหตุครั้งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็ว ก็อาจเป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 เท่านั้น ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำความผิดของจำเลย ประการสำคัญขณะเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นอยู่ในช่องเดินรถของตน การที่ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็วดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน แต่การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน และผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ผู้ตายหามีส่วนประมาทด้วยไม่ ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของผู้ตายย่อมมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2503 เมื่อจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าชนรถสามล้อโดยประมาทแล้ว ผู้ตายซึ่งโดยสารมาในรถสามล้อก็ตกกระเด็นลงไปล้มนอนอยู่ที่ทางรถราง พอดีกับรถรางแล่นมาถึงแล้วทับครูดไปในระยะ 1 วา รถรางจึงสามารถหยุดนิ่งได้ ทำให้ผู้ตายได้รับบาดเจ็บมากและถึงตายเพราะพิษบาดแผลนั้น โดยรถรางมิได้แล่นมาเร็วผิดธรรมดา กรณีเช่นนี้ถือว่า ความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2502 เมื่อจำเลยรู้อยู่ว่าผู้ตายกำลังโหนตัวอยู่ข้างนอกรถด้านขวาและกำลังมีรถสวนมาด้วยความเร็ว จำเลยก็มิได้ชลอลดความเร็วลงหรือหยุดรถ เพียงแต่หักรถหลบไปในระยะกระชั้นชิด ผู้ตายจึงถูกรถที่สวนมาเฉี่ยวถึงแก่ความตาย ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เช่นนี้ เป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2511 เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยขับรถด้วยความประมาทชนเสาไม้ที่ปักริมทางแฉลบจะไปชนเสาไฟฟ้าอย่างแรงอันเป็นการหวาดเสียวและใกล้อันตรายแล้วแม้ผู้ตายจะกระโดดลงจากรถก่อน หากแต่ในระยะกระชั้นชิดกับที่รถจะเข้าชนเสาไฟฟ้าดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า และในที่สุดก็ได้เกิดขึ้นจริง ๆ ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ก็ต้องถือว่าเป็นผลอันเกิดใกล้ชิดกับเหตุที่จำเลยขับรถด้วยความประมาท จำเลยต้องมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5729/2556 ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอก คือ (1) ผู้ใด (2) ฆ่า (3) ผู้อื่น กล่าวคือ รู้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการฆ่า และรู้ด้วยว่า วัตถุแห่งการกระทำคือผู้อื่นนั้นยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งปัญหาว่าจำเลยที่ 1 รู้หรือไม่ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วนั้น โจทก์ไม่ได้ฎีกา และฎีกาโจทก์รับว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลล่างว่าจำเลยที่ 1 พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายจนหมดสติแล้วนำไปทิ้งที่อ่างเก็บน้ำโดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 มิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดว่าผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย จะถือว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตามความใน ป.อ. มาตรา 59 วรรคสาม จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แต่กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามมาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12114/2556 การที่จำเลยนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปซ่อมรอยรั่วซึมของถังน้ำมัน โดยจำเลยไม่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบก่อน กลับแจ้งผู้ตายโดยตรงให้ซ่อมถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมัน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำงานที่มีขึ้นเพื่อความปลอดภัย และจำเลยไม่ได้บอกผู้ตายว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุบรรทุกน้ำมันเบนซินมาด้วย ทำให้ผู้ตายไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำงาน เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิดระเบิดขึ้นและผู้ตายถึงแก่ความตาย นับเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียวที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาได้เกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วยไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ถ้าผลที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยประมาท หรือไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาท ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2510 จำเลยไม่ได้ขับรถเร็ว และทางลากไม้ที่ขับมานั้นเป็นทางจำกัดบังคับให้ขับโดยข้างหนึ่งเป็นคลอง อีกข้างหนึ่งเป็นเขาจะขับให้ห่างคลองอีกไม่ได้ เพราะติดเขา การที่ล้อพ่วงเอียงนั้นก็เนื่องจากที่ตรงนั้นเป็นหลุมเอาหินกองไว้ หินแตกเป็นเหตุให้ระดับล้อที่ผ่านไปทรุดต่ำลง เช่นนี้ หาใช่ความประมาทของจำเลยไม่ และรถที่จำเลยขับมาก็ไม่ได้คว่ำ ถ้าผู้ตายไม่ด่วนตัดสินใจกระโดยลงจากรถเหมือนคนอื่นก็คงไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2553 บริเวณที่เกิดเหตุเป็นสามแยกติดตั้งสัญญาณจราจรไฟ และขณะเกิดเหตุสัญญาณจราจรไฟเป็นสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้เลี้ยวขวา เมื่อได้รับสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้เลี้ยวขวารถทุกคันที่จะเลี้ยวขวาย่อมเคลื่อนที่แล่นเข้าสู่ทางร่วมทางแยกผ่านช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนทางมาไปได้ การที่จำเลยขับรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนมาก็เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเลี้ยวขวาแล่นผ่านช่องเดินรถของรถที่แล่นสวนทางมาเท่านั้น แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากการกระทำของผู้ตายที่ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงแล่นเข้าชนรถโดยสารที่จำเลยเป็นผู้ขับโดยที่ไม่ว่าจำเลยหรือผู้ใดก็ไม่อาจคาดคิดได้ จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายประมาท การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2538 รถยนต์คันที่ ส. ขับมีผู้ตายทั้งสองนั่งโดยสารมาด้วย ส.ขับรถชนท้ายรถบรรทุกห้องเย็นอย่างแรงแล้วจึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ก. และ ท. ที่นั่งโดยสารมากับรถจำเลยในที่นั่งตอนหน้าได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย การที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจุดชนมากกว่า ก. และ ท. กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตายเช่นนี้ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสองมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย แต่น่าจะเป็นผลโดยตรงมาจากการที่ ส.ขับรถชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นมากกว่า จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 แต่มีความผิดตามมาตรา 390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2535 ตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้อง จำเลยขับรถยนต์โดยสารคันหมายเลขทะเบียน 80-6988 อุดรธานีมาถึงที่เกิดเหตุยางล้อหลังระเบิด จำเลยจึงนำรถเข้าจอดข้างทาง ในเวลาเดียวกัน นาย พ. ขับรถยนต์มาถึงที่เกิดเหตุ ชนเข้ากับท้ายรถของจำเลยที่จอดไว้เป็นเหตุให้เด็กชาย จ. ถึงแก่ความตายกับเป็นเหตุให้นาย ถ. นาย บ. และนาง ร. ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัส โดยรถยนต์โดยสารที่จำเลยขับยางล้อหลังระเบิดจำเลยจึงจอดรถยนต์ไว้ชิดไหล่ทางด้านซ้าย ล้อหน้าอยู่ที่ไหล่ทาง ส่วนล้อหลังด้านขวาอยู่บนถนน แล้วจำเลยได้หากิ่งไม้มาวางและเปิดสัญญาณไฟกระพริบ ถือได้ว่าจำเลยใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2556 โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำประมาทของจำเลยว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์ด้วยความเร็วและเปลี่ยนช่องเดินรถโดยกะทันหัน เข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ทางพิจารณาโจทก์ทั้งสองนำสืบว่า ก่อนเกิดเหตุมีรถจักรยานยนต์ที่ขับคู่กันมาเบียดรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับล้มลงในช่องเดินรถช่องที่ 1 ขณะผู้ตายกำลังจะลุกขึ้น จำเลยซึ่งขับรถตามหลังมาในช่องเดินรถที่ 2 ได้เปลี่ยนช่องเดินรถเข้ามาในช่องเดินรถที่ 1 โดยขณะขับรถจำเลยกำลังใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พูดคุย เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับชนผู้ตาย ดังนี้ เหตุที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลงไม่ได้เกิดจากการที่จำเลยขับรถเปลี่ยนช่องเดินรถมาเฉี่ยวชนตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้อง และขณะที่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนนั้น ผู้ตายและรถของผู้ตายล้มลงบนถนนแล้ว มิใช่ผู้ตายกำลังขับรถจักรยานยนต์อยู่บนถนนตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้อง รวมทั้งข้อที่โจทก์ทั้งสองนำสืบว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พูดคุยในขณะขับรถยนต์นั้น โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้กล่าวในฟ้อง ข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสองนำสืบเกี่ยวกับการกระทำประมาทของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำโดยประมาทของจำเลยตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายมาในฟ้อง ต้องห้ามมิให้ศาลพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ความผิดฐานประมาทเป็นเรื่องที่ไม่มีเจตนา จึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน แต่อย่างไรก็ตาม การประมาทร่วมกันย่อมมีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2510 เหตุที่รถเกิดชนกันขึ้น เป็นเพราะความประมาทด้วยกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ รถก็จะไม่ชนกัน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ถ้ารอให้รถของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับมาตามทางตรงผ่านไปก่อน รถก็จะไม่ชนกันขึ้นเหมือนกัน การที่เกิดชนกันขึ้นจึงเป็นผลโดยตรงมาจากความประมาทของจำเลยทั้งสองที่ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกฎหมาย จึงเป็นความผิดด้วยกันทั้งคู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2501 ว่าการฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับรถยนต์และการจราจร แม้จะกระทำโดยมิได้ตั้งใจซึ่งตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 43 บัญญัติว่าเป็นการกระทำโดยประมาท แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 หาได้บัญญัติเช่นนั้นไม่ จึงปรับเอาว่าจำเลยได้ทำให้ น. ตายโดยประมาท เพราะเหตุการฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2503 เรือยนต์จำเลยแท่นทวนน้ำแอบฝั่งขวาของคลองโดยถูกต้องตามกฎหมายเรือยนต์อีกลำหนึ่งแล่นตามน้ำสวนมาในเส้นทางเดินเรือของจำเลย บันทุกคนโดยสารเกินอันตรามากแล้ว เกิดชนกันในเวลาค่ำมือในเส้นทางของเรือจำเลยโดยเรือจำเลยไม่สามารถหลบหลีกได้ หัวเรือจำเลยชนถูกผู้โดยสารในเรือที่แล่นมาผิดทางถึงตาย ดังนี้ ถึงแม้เรือจำเลยไม่ได้จุดโคมไฟ จำเลยก็ไม่ผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท (คงผิดแต่ฐานไม่จุดโคมไฟตามพระราชบัญญัติการเดินเรือ ซึ่งไม่ใช่ผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดชนกันและทำให้คนตาย )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2558 ตามฟ้องที่จำเลยให้การรับสารภาพฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงในทางเดินรถของจำเลย จำเลยไม่ได้ขับล้ำเข้าไปในทางเดินรถสวน ส่วน ร. ขับรถจักรยานยนต์สวนทางมาโดยขับตามหลังรถอีแต๋นที่ บ. เป็นผู้ขับ แต่ ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ ร. ขับชนกับรถจำเลย หาก ร. ไม่ขับรถล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เหตุรถทั้งสองคันชนกันก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แม้จะฟังว่าจำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ก็ยังขับอยู่ในทางเดินรถของจำเลย และตามรายงานชันสูตรพลิกศพเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องระบุว่า ร. ขับรถตัดหน้ารถจำเลยเป็นเหตุให้ชนกัน แล้วรถจำเลยเสียหลักไปชนรถอีแต๋น แสดงว่า ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นในระยะกระชั้นชิดขณะที่รถจำเลยใกล้จะสวนทางกับรถอีแต๋น การที่รถจำเลยเสียหลักพุ่งชนรถอีแต๋น จึงเป็นผลโดยตรงจาก ร. ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิดเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย มิใช่ผลโดยตรงที่จำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้ายหรือไม่ชะลอความเร็ว จะถือว่าจำเลยมีส่วนประมาทด้วยหาได้ไม่ เพราะการที่รถจำเลยเสียการควบคุมไปชนรถอีแต๋นเป็นผลจากความประมาทอย่างร้ายแรงของ ร. ที่ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและรับอันตรายแก่กาย ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่การที่จำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่บรรทุกหินเต็มคันรถด้วยความเร็วสูงในทางแคบ ถือได้ว่าเป็นการขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157
การที่จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี ผู้ตายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย (ไม่มีส่วนประมาทด้วย)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2559 เหตุคดีนี้เกิดจากการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์แล่นแซงรถกระบะที่อยู่ด้านหน้าล้ำเข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายที่แล่นสวนทางมาในช่องเดินรถของผู้ตาย ซึ่งหากจำเลยไม่ขับรถจักรยานยนต์แล่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตายเหตุครั้งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็ว ก็อาจเป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 เท่านั้น ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำความผิดของจำเลย ประการสำคัญขณะเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นอยู่ในช่องเดินรถของตน การที่ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็วดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน แต่การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชน และผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ผู้ตายหามีส่วนประมาทด้วยไม่ ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของผู้ตายย่อมมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19300/2556 การที่โจทก์ร่วมทั้งสี่ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 เป็นการยื่นคำร้องโดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องของพนักงานอัยการ เมื่อคำฟ้องของพนักงานอัยการบรรยายว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทด้วย โจทก์ร่วมทั้งสี่จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องโดยไม่จำต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย ผู้ตายจึงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เช่นนี้ ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และ 30
แต่กรณีที่ยื่นคำร้องในคดีอาญาเพื่อขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่ง การพิจารณาว่าผู้ใดจะมีสิทธิยื่นคำร้องต้องพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่า ผู้เสียหายในทางอาญา เช่น เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) มาบังคับใช้ (ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2560 (ประชุมใหญ่) ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 บัญญัติว่า "ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้" เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์จะช่วยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายในทางแพ่งได้รับความสะดวกรวดเร็วในการได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาจะได้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน โดยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาทุกประเภทที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ต่อเนื่องไปได้เพื่อให้การพิจารณาคดีส่วนแพ่งเป็นไปโดยรวดเร็วดังที่ปรากฏในหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 นั้น แม้ตาม ป.วิ.อ. ได้มีคำอธิบายคำว่าผู้เสียหายไว้ในมาตรา 2 (4) ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6" แต่ข้อความตามมาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้นั้น ย่อมมีความหมายในตัวว่า หมายถึง ผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน จึงมีความหมายที่แตกต่างขัดกับความหมายของผู้เสียหาย ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 (4) การตีความคำว่าผู้เสียหายตามมาตรา 44/1 จึงไม่ต้องถือตามความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 2 (4) ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 1 ที่บัญญัติว่า "ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้วให้ถือตามความหมายดังได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น" ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้ใดจะมีสิทธิยื่นคำร้องต้องพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่า ผู้เสียหายในทางอาญา เช่น เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) มาบังคับใช้ สำหรับคดีนี้ผู้ร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมา 2 ส่วน คือ ค่าเสียหายของรถยนต์ของ ผ. และค่าขาดไร้อุปการะ สำหรับค่าเสียหายของรถยนต์ ผ. เป็นผู้เสียหายในฐานะเจ้าของรถ เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว สิทธิในการเรียกค่าเสียหายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ผ. จึงใช้สิทธิในฐานะทายาทเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้ และค่าขาดไร้อุปการะนั้น ผู้ร้องในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ผ. เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตัวของผู้ร้องเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม และมาตรา 1461 วรรคสอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้เช่นกัน ส่วนความประมาทของ ผ. นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหมดไป (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2560)