การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย ตามมาตรา 59 วรรคท้าย
นั่งรถไปด้วยกัน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว กลับทิ้งให้คนรักนอนสลบอยู่ในพงหญ้าข้างทางนานถึง 8 วัน โดยไม่แจ้งให้คนไปช่วยเหลือ ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงคนรักนั้น อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า ดังที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16412/2555 - วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นหญิงคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลงทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทาง แล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือ ทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุ เป็นเวลานานถึง 8 วัน และไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือ ผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าและฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องของโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 ไว้ชัดเจนแล้วว่า เมื่อรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 หมดสติ จำเลยไม่ช่วยเหลือหรือแจ้งให้ผู้อื่นไปช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าจึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แล้ว เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยฟังได้ว่า วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้จับมือผู้เสียหายที่ 2 ไปกอดไว้และเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทางแล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุเป็นเวลานานถึง 8 วันและไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย ส่วนความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีนั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยได้ทิ้งผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งหมดสติอยู่ที่เกิดเหตุโดยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที มิได้บรรยายอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส แม้โจทก์จะบรรยายในตอนท้ายของข้อ (1) ค. ว่า ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสก็เป็นการบรรยายฟ้องสืบเนื่องมาจากรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มและผลจากการที่จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสองได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปว่า มีเหตุไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ สำหรับความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร เห็นว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับจำเลยในแต่ละกระทงอีกสถานหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปี หรือปรับแต่ละกระทงไม่เกินสี่หมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่โจทก์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีซึ่งเป็นกรรมเดียวกันนั้น เห็นว่า แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 19 ปี และหลังเกิดเหตุจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองแล้วก็ตาม แต่จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 เป็นคนรักกัน เมื่อรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับประสบอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส จำเลยในฐานะคนรักของผู้เสียหายที่ 2 และไม่ได้รับบาดเจ็บมากควรช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 หรือไปตามบุคคลอื่นมาช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 แต่จำเลยกลับไม่กระทำและทิ้งผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในที่เกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไปสอบถามถึงผู้เสียหายที่ 2 จำเลยก็ไม่ยอมบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทราบ ปล่อยให้ผู้เสียหายที่ 2 ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานานถึง 8 วัน จนกระทั่งนายอุดม ไปพบผู้เสียหายที่ 2 หากนายอุดมไม่ไปพบผู้เสียหายที่ 2 อาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายได้ ที่จำเลยแก้ฎีกาว่า จำเลยกลัวความผิดและเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายแล้วจึงไม่กล้าบอกหรือเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟัง ก็เป็นการผิดวิสัยของคนที่รักกัน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น และเมื่อศาลฎีกาไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว การคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ย่อมไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกการคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 5 ปี ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 กับให้ยกเลิกการคุมประพฤติในความผิดฐานดังกล่าว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4
ทนายความ รับปรึกษาคดี และ ว่าความ ทั่วราชอาณาจักร คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน อุทธรณ์ฎีกา อุทธรณ์คดีเวนคืนที่ดิน โทร. 0648578506 หรือไลน์ไอดี wc_lawyer
02 เมษายน 2559
ถูกทำร้ายจึงกลับไปห้องพักห่างออกไป 2-3 กิโลเมตรใช้เวลา 30 นาที เพื่อเอาอาวุธกลับมาฆ่าผู้ตาย ไม่เป็นบันดาลโทสะ แต่เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289(4)
มาตรา 72 "ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้"
มาตรา 289 "ผู้ใด
(1) ..........
(2) ..........
(3) ..........
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) .........
................
ต้องระวางโทษประหารชีวิต"
มาตรา 289 "ผู้ใด
(1) ..........
(2) ..........
(3) ..........
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) .........
................
ต้องระวางโทษประหารชีวิต"
การอ้างเหตุบันดาลโทสะเพื่อที่จะได้รับโทษน้อยลง จะต้องได้ความว่าเกิดบันดาลโทสะเนื่องจากถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงได้ลงมือกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น แต่ถ้าเหตุการที่ถูกข่มเหงผ่านพ้นไปนานพอสมควร ซึ่งโทสะระงับลงแล้ว แต่กลับตระเตรียมอาวุธกลับมาฆ่าผู้ข่มเหง ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องบันดาลโทสะ แต่เป็นเรื่องการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ดังที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2558 - จำเลยที่ 1 เดินออกจากร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุกลับถึงห้องพัก ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 2 ถึง 3 กิโลเมตร แล้วจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้พูดเกลี้ยกล่อมจำเลยที่ 1 ไม่ให้กลับไปอีก ทั้งได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ออกไปจากร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุได้ประมาณ 30 นาที ก็กลับมาอีก เมื่อหักเวลาเดินทางไปและกลับระหว่างร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุกับห้องพักของจำเลยทั้งสี่เชื่อว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เวลาพูดเกลี้ยกล่อมไม่ให้จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุนานประมาณ 20 นาที ซึ่งจำเลยที่ 1 น่าจะสามารถระงับสติอารมณ์ทำให้โทสะหมดสิ้นไปแล้วและกลับมามีสติสัมปชัญญะดีเหมือนเดิม การที่จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุแล้วทำร้ายผู้ตายจึงหาใช่เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยที่ 1 ยังมีโทสะอยู่ แต่เป็นเหตุการณ์ที่ขาดตอนไปแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ากระทำโดยบันดาลโทสะไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ตระเตรียมอาวุธมีดของกลางกลับไปที่ร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุ ไล่ตามผู้ตายที่วิ่งหนีไปเป็นระยะทางถึง 50 เมตร และใช้อาวุธมีดของกลางที่เตรียมมาฟันแทงผู้ตายอย่างแรงหลายครั้งจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ตายทำร้ายจึงวิ่งออกจากร้านกลับไปที่ห้องพักใช้เวลาเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ขณะที่จำเลยที่ 1 มีอารมณ์โกรธใช้เวลานานเพียงไม่กี่นาทีย่อมไม่มีโอกาสคิดทบทวนว่าสมควรจะฆ่าผู้ตายหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โกรธผู้ตาย จึงหยิบอาวุธมีดจากห้องพักเพื่อกลับมาทำร้ายผู้ตาย เมื่อไปถึงจำเลยที่ 1 ถืออาวุธมีดเดินเข้าไปภายในร้าน ผู้ตายวิ่งออกจากร้านไป จำเลยที่ 1 วิ่งไล่ตามผู้ตายแล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย และโจทก์ไม่มีหลักฐานอื่นมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีโอกาสคิดใคร่ครวญตระเตรียมการวางแผนก่อเหตุฆ่าผู้ตาย พยานหลักฐานโจทก์ย่อมฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ประกอบกับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยที่ 1 ก่อน โดยขณะที่จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านเกิดเหตุแล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยที่ 1 ยังมีโทสะอยู่ อันเป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เห็นว่า ร้านคาราโอเกะในนาอยู่ห่างจากห้องพักของจำเลยที่ 1 ประมาณ 2 ถึง 3 กิโลเมตร จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ใช้รถจักรยานยนต์สองคันเป็นพาหนะออกจากร้านคาราโอเกะในนากลับไปห้องพักและจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เดินทางจากห้องพักกลับไปร้านคาราโอเกะรวมเวลาเดินทางไปกลับไม่น่าจะเกิน 10 นาที จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 กลับไปถึงห้องพักก็เข้าไปหยิบมีดของกลางและจะกลับไปหาผู้ตายที่ร้านคาราโอเกะในนา จำเลยที่ 2 และที่ 4 พยายามห้ามไว้แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมฟัง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องกลับไปที่ร้านคาราโอเกะในนา กับจำเลยที่ 1 อีก ซึ่งก็สอดคล้องกับคำให้การของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา ว่า จำเลยที่ 1 จะกลับไปร้านคาราโอเกะในนาคนเดียว แต่จำเลยอื่นไม่ยอม จึงเชื่อได้ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 กลับไปถึงห้องพัก จำเลยอื่นได้พูดเกลี้ยกล่อมจำเลยที่ 1 ไม่ให้กลับไปอีก นางสาว จ. พนักงานเสิร์ฟประจำร้านคาราโอเกะในนาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การของพยาน ว่า จำเลยทั้งสี่ออกไปจากร้านเวลาประมาณ 0.30 นาฬิกา และกลับมาอีกครั้งเมื่อเวลาประมาณ 1 นาฬิกา ตามคำให้การของนางสาว จ.แสดงว่าจำเลยทั้งสี่ออกไปได้ประมาณ 30 นาที ก็กลับมาอีก เมื่อหักเวลาเดินทางไปและกลับระหว่างร้านคาราโอเกะในนากับที่พักของจำเลยทั้งสี่เชื่อว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เวลาพูดเกลี้ยกล่อมไม่ให้จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านคาราโอเกะในนาประมาณ 20 นาที ซึ่งจำเลยที่ 1 น่าจะสามารถระงับสติอารมณ์ทำให้โทสะหมดสิ้นไปแล้วและกลับมามีสติสัมปชัญญะดีเหมือนเดิม การที่จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านคาราโอเกะในนาแล้วทำร้ายผู้ตายจึงหาใช่เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยที่ 1 ยังมีโทสะอยู่ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่ แต่เป็นเหตุการณ์ที่ขาดตอนไปแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ากระทำโดยบันดาลโทสะไม่ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ตระเตรียมอาวุธมีดของกลางกลับไปที่ร้านคาราโอเกะในนาเมื่อผู้ตายเห็นจำเลยที่ 1 จึงวิ่งหนี จำเลยที่ 1 ไล่ตามไปเป็นระยะทางถึง 50 เมตร และใช้อาวุธมีดของกลางที่เตรียมมาฟันแทงผู้ตายอย่างแรงหลายครั้งจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคดีนี้ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุโดยใช้ท่อเหล็กแป๊บตีทำร้ายจำเลยที่ 1 ก่อน ประกอบกับคำให้การชั้นสอบสวนและทางนำสืบของจำเลยที่ 1 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลดโทษให้หนึ่งในสามยังไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เห็นสมควรลดโทษให้จำเลยที่ 1 สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรให้เหมาะสมกับการกระทำความผิด
พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุก 25 ปี และเมื่อลดโทษฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงปรับ 45 บาท รวมเป็นจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 45 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8
ป้ายกำกับ:
คดีอาญา
26 มีนาคม 2559
ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินในฐานะบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
ป.พ.พ. มาตรา 1300 "ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้"
ผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้บุตรโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ และแม้จะมีผู้รับโอนต่อไปโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ผู้รับโอนต่อไปก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13689/2556 - โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งกระทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ซึ่งที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ตายและตกเป็นของโจทก์ทั้งสองเฉพาะส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองเป็นการใช้สิทธิในฐานะบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ไม่ใช่การฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง และไม่ใช่การฟ้องคดีละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะกรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทได้
ผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้บุตรโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ และแม้จะมีผู้รับโอนต่อไปโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ผู้รับโอนต่อไปก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13689/2556 - โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายฟ้องขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งกระทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ซึ่งที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ตายและตกเป็นของโจทก์ทั้งสองเฉพาะส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองเป็นการใช้สิทธิในฐานะบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ไม่ใช่การฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง และไม่ใช่การฟ้องคดีละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการมรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะกรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทได้
ป้ายกำกับ:
คดีแพ่ง
25 มีนาคม 2559
ถ้าเป็นคดีความผิดที่ยอมความได้ ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายก่อน
ป.วิ.อ.
มาตรา 120 "ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน"
มาตรา 121 "พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง
แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ"
ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ของผู้เสียหาย ไม่ได้ร้องทุกข์ว่าจำเลยทั้งสองยักยอกรถยนต์ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนผู้เสียหายเพิ่มเติมว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหาย เพราะไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ ดังนั้น การสอบสวนเพิ่มเติมว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหายจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ เท่ากับไม่มีการสอบสวนในเรื่องดังกล่าว และมีผลให้อัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันยักยอกรถยนต์ดังกล่าว
มาตรา 120 "ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน"
มาตรา 121 "พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง
แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ"
ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ของผู้เสียหาย ไม่ได้ร้องทุกข์ว่าจำเลยทั้งสองยักยอกรถยนต์ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนผู้เสียหายเพิ่มเติมว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหาย เพราะไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ ดังนั้น การสอบสวนเพิ่มเติมว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหายจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ เท่ากับไม่มีการสอบสวนในเรื่องดังกล่าว และมีผลให้อัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันยักยอกรถยนต์ดังกล่าว
มีตัวอย่างดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14785/2557 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2548 โจทก์ร่วมร้องทุกข์ขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าโจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการขายรถยนต์ใช้แล้วด้วยกัน โดยโจทก์ร่วมเป็นผู้ออกเงินทุนซื้อรถยนต์ใช้แล้วจากนั้นนำไปมอบให้จำเลยทั้งสองเสนอขาย เมื่อขายได้โจทก์ร่วมจะได้รับเงินทุนคืนพร้อมเงินกำไรร้อยละหกสิบ ส่วนจำเลยทั้งสองจะได้เฉพาะเงินกำไรร้อยละสี่สิบ โจทก์ร่วมนำรถยนต์ 6 คันตามฟ้องไปมอบให้จำเลยทั้งสองเสนอขาย เมื่อจำเลยทั้งสองขายได้แล้วจำเลยทั้งสองร่วมกันเบียดบังเอาเงินที่ขายได้ไปโดยทุจริต ซึ่งเป็นการร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากนั้นในวันที่ 18 เมษายน 2549 พนักงานสอบสวน สอบสวนโจทก์ร่วมเพิ่มเติมว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกรถยนต์ของโจทก์ร่วม ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ไว้ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2548 การสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง เพราะมิใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันยักยอกรถยนต์ของโจทก์ร่วมเป็นคดีนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
ป้ายกำกับ:
คดีอาญา
การสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนมาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. 120
ป.วิ.อ. มาตรา 120 "ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน"
ซึ่งการสอบสวนที่จะทำให้อัยการมีอำนาจฟ้องนั้น จะต้องเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย หากเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับไม่มีการสอบสวนมาก่อน ย่อมมีผลถึงอำนาจฟ้องคดีของพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13990/2556 เจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดบังคับให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไปศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติดเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 22 โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตรวจวินิจฉัยว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดหรือไม่ เพื่อจะได้คัดแยกว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือต้องถูกดำเนินคดีต่อไปตาม ป.วิ.อ. การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนมาก่อนและย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. 120 ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า เมื่อพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังจำเลยและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฝากขังแล้ว ต่อมาพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้โจทก์ ซึ่งโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยโดยขอให้ศาลเบิกตัวจำเลยตามหมายขังมาพิจารณาดำเนินคดี หากศาลชั้นต้นเห็นว่าหมายขังไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนหมายขังเสียก่อนแล้วมีคำสั่งไม่รับประทับฟ้อง เพื่อที่โจทก์จะได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนรับตัวจำเลยกลับไปยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อให้จำเลยมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลย ทำให้จำเลยไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายขังที่มิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นจึงยังไม่อาจวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุว่า ผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่ง มิใช่อาชญากรปกติ พระราชบัญญัตินี้จึงกำหนดให้มีกระบวนการคัดแยกผู้เสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวงไปดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ก่อนที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนสรุปสำนวน เสนอพนักงานอัยการฟ้องศาลเพื่อลงโทษผู้นั้นเหมือนผู้กระทำความผิดอาญาอื่น ๆ ซึ่งในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนยังคงดำเนินการสอบสวนคดีต่อไป และเมื่อผู้เสพยาเสพติดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่พอใจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 และให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป แต่ถ้าผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไป โดยมาตรา 19 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่า ต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด จึงเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้บังคับให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหา ซึ่งเป็นบุคคลที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไปศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 22 โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้ตรวจวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหานั้นเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดหรือไม่ เพื่อจะได้คัดแยกว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือต้องถูกดำเนินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังเช่นผู้กระทำความผิดทางอาญาอื่น ๆ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่พนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีน น้ำหนัก 0.03 กรัม อันเป็นยาเสพติด ตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ.2546 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ถือว่าจำเลยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้นำตัวจำเลยไปศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับการพิจารณาเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แทนการถูกดำเนินคดีตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แต่อย่างใด ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนคดีนี้มาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ทั้งกรณีดังกล่าวมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังที่โจทก์ฎีกา แต่เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ดังวินิจฉัยข้างต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ซึ่งการสอบสวนที่จะทำให้อัยการมีอำนาจฟ้องนั้น จะต้องเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย หากเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับไม่มีการสอบสวนมาก่อน ย่อมมีผลถึงอำนาจฟ้องคดีของพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13990/2556 เจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดบังคับให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไปศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติดเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 22 โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตรวจวินิจฉัยว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดหรือไม่ เพื่อจะได้คัดแยกว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือต้องถูกดำเนินคดีต่อไปตาม ป.วิ.อ. การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนมาก่อนและย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. 120 ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า เมื่อพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังจำเลยและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฝากขังแล้ว ต่อมาพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้โจทก์ ซึ่งโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยโดยขอให้ศาลเบิกตัวจำเลยตามหมายขังมาพิจารณาดำเนินคดี หากศาลชั้นต้นเห็นว่าหมายขังไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนหมายขังเสียก่อนแล้วมีคำสั่งไม่รับประทับฟ้อง เพื่อที่โจทก์จะได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนรับตัวจำเลยกลับไปยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อให้จำเลยมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลย ทำให้จำเลยไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายขังที่มิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นจึงยังไม่อาจวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุว่า ผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่ง มิใช่อาชญากรปกติ พระราชบัญญัตินี้จึงกำหนดให้มีกระบวนการคัดแยกผู้เสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวงไปดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ก่อนที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนสรุปสำนวน เสนอพนักงานอัยการฟ้องศาลเพื่อลงโทษผู้นั้นเหมือนผู้กระทำความผิดอาญาอื่น ๆ ซึ่งในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนยังคงดำเนินการสอบสวนคดีต่อไป และเมื่อผู้เสพยาเสพติดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่พอใจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 และให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป แต่ถ้าผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไป โดยมาตรา 19 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่า ต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด จึงเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้บังคับให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหา ซึ่งเป็นบุคคลที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไปศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 22 โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้ตรวจวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหานั้นเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติดหรือไม่ เพื่อจะได้คัดแยกว่าผู้ต้องหานั้นเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือต้องถูกดำเนินคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังเช่นผู้กระทำความผิดทางอาญาอื่น ๆ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่พนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีน น้ำหนัก 0.03 กรัม อันเป็นยาเสพติด ตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ.2546 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ถือว่าจำเลยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้นำตัวจำเลยไปศาลภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับการพิจารณาเข้าสู่ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แทนการถูกดำเนินคดีตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แต่อย่างใด ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนคดีนี้มาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ทั้งกรณีดังกล่าวมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังที่โจทก์ฎีกา แต่เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ดังวินิจฉัยข้างต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ป้ายกำกับ:
คดีอาญา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)