สัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอย่างหนึ่งที่ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมและหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง จึงมีลักษณะ 3 ประการ คือ
1. ผู้ให้กู้โอนกรรมสิทธิ์ในเงินนั้นให้แก่ผู้ยืม
2. ผู้ยืมต้องคืนเงินจำนวนเท่ากันให้แทนเงินที่ยืมไป
3. สัญญายืมเงินสมบูรณ์เมื่อส่งมอบเงินที่ยืม
มีสัญญาบางประเภทที่คู่สัญญามีภาระหน้าที่ต่อกันคล้ายสัญญายืมเงินแต่ไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน เช่น ยืมเงินทดรอง สัญญาเล่นแชร์เปียหวย ตัวแทนออกเงินทดรอง มอบเงินให้ไปดำเนินกิจการร่วมกัน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาบัตรเครดิต เป็นต้น
อายุความ
สัญญากู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระไว้ ผู้ให้กู้เรียกให้ผู้กู้ชำระเงินกู้ได้ทันทีตามมาตรา 203 วรรคหนึ่ง โดยมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ซึ่งถ้าหากสัญญากู้มีกำหนดระยะเวลาไว้ ผู้ให้กู้จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่ลูกหนี้ถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิฟ้องทายาทของผู้กู้ได้ทันทีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามมาตรา 1754 วรรคสาม
แต่ถ้าเป็นกรณีการกู้ยืมเงินที่มีการผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ นั้น มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(2) เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่ตกลงให้ผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ อาจจะเป็นรายเดือนจำนวน 36 งวด เป็นต้น ทั้งนี้ การผ่อนชำระแต่ละงวดไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2551 สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยสัญญาว่าจะใช้เงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นเดือน เดือนละ 5,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินตามสัญญากู้ยืมเงินจึงถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวดๆ อันมีกำหนดอายุความไว้ห้าปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) (มาตรา 166 เดิม) มิใช่กรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้อันต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การส่งมอบเงินที่กู้ยืม อาจทำได้โดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ เช่น
แต่ถ้าเป็นกรณีการกู้ยืมเงินที่มีการผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ นั้น มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(2) เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่ตกลงให้ผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ อาจจะเป็นรายเดือนจำนวน 36 งวด เป็นต้น ทั้งนี้ การผ่อนชำระแต่ละงวดไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2551 สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยสัญญาว่าจะใช้เงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นเดือน เดือนละ 5,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินตามสัญญากู้ยืมเงินจึงถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินเพื่อผ่อนต้นทุนคืนเป็นงวดๆ อันมีกำหนดอายุความไว้ห้าปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) (มาตรา 166 เดิม) มิใช่กรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้อันต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
(1) บิดาต้องการโอนปืนให้บุตร แต่บุตรเป็นคนต่างด้าว จึงได้โอนให้บุตรเขยซึ่งเป็นคนไทย แล้วให้บุตรเขยทำสัญญากู้ยืมเงินบุตรตามราคาปืนกระบอกนั้น
(2) นายแดงทำสัญญาจะซื้อที่ดินนายดำแต่ไม่มีเงินวางมัดจำ จึงทำสัญญากู้ยืมเงินให้นายดำไว้แทนค่ามัดจำ
(3) นายแดงทำสัญญากู้ยืมเงินให้นายดำแทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่นายดำให้แก่นายแดง
ของหมั้นจะต้องมีการส่งมอบกันแล้วจึงจะเรียกว่าหมั้น ดังนั้น การทำสัญญากู้แทนของหมั้นจึงทำไม่ได้ซึ่งต่างจากสินสอดที่สามารถทำเป็นสัญญากู้ได้
ถ้าเป็นหนี้ในอนาคตที่ยังไม่แน่นอนไม่อาจนำมาเป็นมูลหนี้ในสัญญากู้ยืมเงินได้
ในกรณีที่ทำสัญญากู้เพื่อชำระหนี้อื่นจะถือว่ามีการส่งมอบเงินที่กู้นั้นได้ หนี้อื่นหรือหนี้เดิมจะต้องเป็นหนี้ตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงหนี้ในทางศีลธรรม
การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ ถ้าเป็นหนี้ตามมูลหนี้อื่นอื่นก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ เช่น ฟ้องให้ชำระหนี้ตามเช็คซึ่งมีมูลหนี้จากการกู้ยืมเงินไป เป็นต้น
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินข้างต้นอาจเป็นหลักฐานที่มีข้อความที่แสดงว่าผู้กู้หรือผู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้กู้ได้รับเงินไปและจะใช้คืน หรือเป็นเอกสารหรือจดหมายที่ผู้กู้มีไปถึงผู้อื่น ไม่จำเป็นว่าหลักฐานการกูยืมต้องทำเป็นเอกสารในรูปแบบสัญญาเพียงอย่างเดียว เช่น บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่เปรียบเทียบ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความในคดีอาญาด้วยความสมัครใจ สัญญาค้ำประกันที่แสดงถึงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน เป็นต้น
ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเช็คไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงิน แต่เช็คนั้นถ้ามีเอกสารอื่นประกอบให้เห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกันและมีข้อความว่าผู้กู้เอาเงินผู้ให้กู้ไว้และจะใช้คืนให้ก็ใช้เป็นหลักฐานได้เช่นกัน การลงลายมือชื่อในหลักฐานการกู้ยืมเงิน จะเป็นลายมือชื่อหรือเป็นลายเขียนหรือชื่อเล่นก็ได้ ถ้าผู้กู้มีเจตนาใช้เป็นลายมือชื่อ แต่จะต้องเป็นลายมือของผู้กู้จริงๆ ดังนั้น แม้เจ้าของลายมือชื่อจะยินยอมให้ลงลายมือชื่อแทนก็จะทำไม่ได้
การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้กู้นอกจากจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้แล้ว ศาลฎีกายังตีความว่า จะใช้ในการต่อสู้คดีไม่ได้ด้วย
ดอกเบี้ย
1. ดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดไว้
มาตรา 7 "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี"
มาตรา 224 "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์"
- สัญญากู้ยืมที่มิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัด ถ้าไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ทวงถามเมื่อไร ให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
- สัญญาไม่ได้กำหนดว่าเมื่อผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้เสียดอกเบี้ย ถ้าลูกหนี้ผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี ตามมาตรา 224
2. ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 654)
(1) ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะทั้งหมด แต่เงินต้นสมบูรณ์
(2) ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าแล้วนำไปรวมกับเงินต้นในสัญญากู้ ดอกเบี้ยล่วงหน้าที่เรียกเกินอัตราผิดกฎหมาย หนี้ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ ส่วนต้นเงินยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนเงินต้นนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
(3) กรณีที่ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปแล้ว ในปัจจุบันนี้ได้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาได้ตัดสินไว้ให้นำดอกเบี้ยดังกล่าวไปหักชำระหนี้เงินต้นได้
(4) สัญญากู้ยืมที่มีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี เฉพาะเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันกู้ แต่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 244 วรรคหนึ่ง
3. ดอกเบี้ยกรณีผู้ให้กู้เป็นสถาบันการเงิน
กรณีผู้ให้กู้เป็นสถาบันการเงินสามารถเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ซึ่งถ้าสถาบันการเงินทำสัญญาให้กู้ยืมโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่ตนเองประกาศไว้ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ถึงแม้สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2547 สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ให้แก่โจทก์ในอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ (ปัจจุบันเท่ากับอัตราร้อยละ 19 ต่อปี) และหนังสือยินยอมให้ทำประกันอัคคีภัยระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้คืนเบี้ยประกันอัคคีภัยแก่โจทก์เต็มจำนวนพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ที่กำหนดให้พึงเรียกเก็บได้ (ในปัจจุบันอัตราร้อยละ 19 ต่อปี) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 (2) แม้ขณะนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มิได้คิดอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ก็ตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินและหนังสือยินยอมให้ทำประกันอัคคีภัยดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้และหนังสือยินยอมได้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้และเบี้ยประกันอัคคีภัยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ ประกอบกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ จึงย่อมจำเป็นต้องทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การเรียกดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ประกอบอาชีพค้าขาย โดยสภาพและตามสำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ลำพังแต่การที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระหนี้แก่โจทก์เพราะตนเป็นหนี้แก่โจทก์แล้วโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ประกอบการธนาคารพาณิชย์ อันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนได้นำเงินไปจัดการหักชำระหนี้ต่าง ๆ ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเองนั้น ย่อมมีเหตุที่จำเลยที่ 1 เข้าใจและเชื่อว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ
เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะเพราะคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาสถาบันการเงินและลูกค้าจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกค้ายอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้นด้วย ศาลก็ไม่อาจจะพิพากษาตามยอมให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2549 แม้ว่าโจทก์จะเป็นสถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 ก็ตาม แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดด้วย ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์นั้น โจทก์ได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเป็นสองอัตรา คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกหนี้ที่ปฏิบัติผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเลยจึงเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ถือว่าเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ อันเป็นการต้องห้าม ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) จึงตกเป็นโมฆะ
การที่ศาลฎีกาจะพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่า เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลใน ข้อ. 1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,150,253.55 บาท แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 กับที่ 5 ตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 558,543.32 บาท แก่โจทก์ เมื่อรวมจำนวนเงินทั้งสองจำนวนแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 1,708,796.87 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินซึ่งคำนวณจากดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) รวมอยู่ด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
คู่สัญญาอาจทำสัญญายอมให้สถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงตามประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ แต่ในสัญญาจะต้องมีข้อตกลงให้สถาบันการเงินเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ ถ้าไม่มีข้อตกลงดังกล่าวสถาบันการเงินผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิปรับเพิ่มดอกเบี้ยให้สูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2534 สัญญากู้เป็นสัญญาสองฝ่าย เมื่อตามสัญญากู้ไม่มีเงื่อนไขให้จำเลยคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ได้เกินกว่าที่ตกลงกันไว้ แม้จะมีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่จำเลยจะเรียกเก็บได้เกินกว่าที่โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ แต่จำเลยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยตามอัตราที่เปลี่ยนแปลงใหม่โดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2545 จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ต่อมาโจทก์โอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ช. มาชำระหนี้ของจำเลยเพื่อหักทอนบัญชีเดินสะพัด แต่เมื่อหักทอนบัญชีกันแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์อยู่อีกจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดอันเป็นสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยถ้าเป็นการปรับเพิ่มเพราะมีข้อสัญญาระบุว่าให้ผู้ให้กู้ปรับเพิ่มได้แม้ลูกหนี้ไม่ผิดนัด ดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มไม่ใช่เบี้ยปรับ ถ้าสัญญาระบุว่าผู้ให้กู้จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เช่นนี้ ดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามมาตรา 383 แต่จะลดลงต่ำกว่าหรือเท่ากับดอกเบี้ยขณะไม่ผิดนัดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2546 สัญญากู้เงินระหว่างจำเลยผู้กู้กับโจทก์ผู้ให้กู้กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยของหนี้เงินกู้ไว้แล้ว แม้ตามสัญญาจำนองจะระบุว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี แต่เมื่อสัญญาจำนองเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามอัตราที่ระบุในสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่โจทก์ปรับเพิ่มดอกเบี้ยให้สูงกว่าอัตราร้อยละ 11.50 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเพราะเหตุที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนและค้างชำระติดต่อกันหลายงวด แม้เป็นการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัด ข้อตกลงเช่นว่านี้มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรอันเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2546 สัญญากู้เงินระหว่างจำเลยผู้กู้กับโจทก์ผู้ให้กู้กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยของหนี้เงินกู้ไว้แล้ว แม้ตามสัญญาจำนองจะระบุว่าจำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี แต่เมื่อสัญญาจำนองเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามอัตราที่ระบุในสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน การที่โจทก์ปรับเพิ่มดอกเบี้ยให้สูงกว่าอัตราร้อยละ 11.50 ต่อปีตามสัญญากู้เงินเพราะเหตุที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนและค้างชำระติดต่อกันหลายงวด แม้เป็นการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัด ข้อตกลงเช่นว่านี้มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรอันเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้
กรณีตกลงให้เอาดอกเบี้ยทบต้นตามมาตรา 655 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายนั้น แม้ลงลายมือชื่อผู้กู้เพียงฝ่ายเดียวก็ใช้บังคับได้