ป.พ.พ. มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ห้างสรรพสินค้าโดยทั่วๆไป ต้องจัดให้มีที่จอดรถให้แก่ลูกค้าเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้ามาใช้บริการของลูกค้า ซึ่งในการจัดให้มีที่จอดรถดังกล่าว ทางห้างจะจัดให้มีการอำนวยความสะดวกโดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมาคอยดูแล รวมทั้งมีการแลกบัตรเข้าออกสถานที่จอดรถ และมักจะมีปัญหาเมื่อเกิดรถสูญหาย ทางห้างมักจะอ้างว่า การจัดให้มีที่จอดรถดังกล่าว ทางห้างไม่รับผิดชอบหากรถสูญหาย แต่ปรากฏว่า ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยในกรณีนี้ไว้ ว่าห้างต้องรับผิดชอบ จะปัดความรับผิดไม่ได้
ตัวอย่าง
ห้างสรรพสินค้า บ. เป็นห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ได้จัดให้มีที่จอดรถแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ โดยมีการแจกบัตรให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาจอดรถ เมื่อจะนำรถออกจากสถานที่จอดรถก็จะมีการตรวจสอบบัตรผ่านจากพนักงานของห้าง หากไม่มีบัตรผ่านก็นำรถออกไปไม่ได้ ต่อมาเปลี่ยนไปใช้วิธีติดกล้องวงจรปิดแทน แล้วปรากฏว่ารถลูกค้าสูญหาย ห้างฯจึงปฏิเสธความรับผิด อ้างว่าได้ปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบหากรถสูญหายแล้ว ลูกค้าจะมาเรียกร้องให้ห้างรับผิดชอบไม่ได้ เรื่องนี้มีการฟ้องร้องต่อสู้คดีกัน สุดท้ายไปจบที่ศาลฎีกา
โดยศาลได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่นๆหรือไม่ แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8(9), 34 บัญญัติให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร แต่จำเลยต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่จำเลยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่นำเข้ามาในห้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถยนต์ออกไปต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีดังกล่าวเสีย โดยใช้กล้องวงจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถห้างฯของจำเลย และโจรกรรมรถได้ง่ายยิ่งขึ้น แม้จำเลยจะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใดๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว ไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของจำเลย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2556)
สรุปได้ว่า แม้ห้างฯจะอ้างว่าปิดประกาศไว้แล้วว่าไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใดๆก็ตาม แต่ศาลก็ยังต้องให้ห้างฯรับผิดชอบ สาเหตุก็เพราะ ห้างฯต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง
ทนายความ รับปรึกษาคดี และ ว่าความ ทั่วราชอาณาจักร คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน อุทธรณ์ฎีกา อุทธรณ์คดีเวนคืนที่ดิน โทร. 0648578506 หรือไลน์ไอดี wc_lawyer
23 กันยายน 2557
21 กันยายน 2557
ทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน มีสิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ
มาตรา 1748 "ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้
แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกตามวรรคก่อน จะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้"
โดยปกติแล้ว สิทธิของทายาทที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้น จะต้องทำภายในอายุความมรดก คือ ภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1754
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ทายาทที่ครอบครองนั้นมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะเลยกำหนดอายุความมาแล้ว
ตัวอย่าง
***กรณีครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปัน ทายาทที่เข้าครอบครองส่วนของตนตลอดมาแล้ว แม้ต่อมาจะมีเหตุที่ทำให้มิได้ครอบครอง ก็ยังมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้
โจทก์ เป็นบุตรนาย ส.และนาง ค. โดยบิดามารดาโจทก์มีบุตรด้วยกัน 5 คน รวมทั้งนาย ซ. ด้วย จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของนาย ซ. และมีบุตรด้วยกันรวม 5 คน คือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ปัจจุบันบิดามารดาและพี่น้องของโจทก์ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว เดิมบิดามารดามีที่นาเป็นที่ดินมือเปล่า 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 95 ไร่ หลังจากบิดามารดาถึงแก่กรรมพี่น้องทุกคนให้นาย ซ.ซึ่งเป็นพี่คนโตไปขอออก ส.ค.1 แทนน้องทุกคน โดยตกลงจะแบ่งปันกันภายหลัง ต่อมาน้องคนอื่นถึงแก่กรรมไปหมด ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์และนาย ซ. เพียง 2 คน ซึ่งได้ร่วมกันครอบครองทำกินตลอดมา ภายหลังนาย ซ. ขอออกเป็นโฉนดเลขที่ 3630 โดยความยินยอมของโจทก์ ครั้นปี 2521 โจทก์และนาย ซ. ตกลงแบ่งที่ดินกันคนละครึ่ง โดยส่วนของโจทก์อยู่ทางทิศตะวันตกแต่ระหว่างรอการรังวัดแบ่งแยกนาย ซ.ถึงแก่กรรม หลังจากนาย ซ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งหกไปยื่นคำขอรับมรดกที่ดินทั้งแปลง แต่โจทก์คัดค้าน แล้วจำเลยทั้งหกตกลงจะแบ่งที่ดินให้โจทก์ตามที่เคยตกลงกับนาย ซ. โจทก์จึงถอนคำคัดค้านและยังครอบครองทำกินในที่ดินส่วนของโจทก์เรื่อยมา จนกระทั่งต้นปี 2535 ฝ่ายจำเลยห้ามโจทก์ไม่ให้เข้าทำนาโดยอ้างว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โจทก์ไปตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินจึงทราบว่าถูกหลอกให้ถอนคำคัดค้าน เพราะจำเลยทั้งหกขอรับโอนมรดกที่ดินไปตั้งแต่ปี 2524 โจทก์จึงแจ้งให้จำเลยทั้งหกไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่จำเลยทั้งหกเพิกเฉย โจทก์จึงมาฟ้องคดีต่อศาล ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนที่เกินส่วนของนาย ซ. ทางด้านทิศตะวันตกเนื้อที่ประมาณ 47 ไร่ 2 งาน 86 ตารางวา และให้จำเลยทั้งหกจัดการจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนดังกล่าวแก่โจทก์ หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
เรื่องนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จะปรากฏว่าภายหลังโจทก์ยื่นคำขอถอนคำค้านการขอรับมรดกที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งหกตามเอกสารหมาย จ.5 ก็ระบุเพียงว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันเองได้แล้วมิใช่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดก จึงไม่มีผลให้ที่ดินพิพาทแปรสภาพเป็นมิใช่ทรัพย์มรดกต่อไปแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และนาย ซ.ร่วมกัน มิใช่เป็นของนาย ซ.แต่ผู้เดียว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้แล้วว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกและทรัพย์มรดกดังกล่าวยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้จะล่วงพ้นอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542)
***กรณีเจ้ามรดกตาย แต่ทรัพย์มรดกนั้นมีบุคคลภายนอกครอบครองอยู่โดยอาศัยสิทธิการเช่า ถือว่าบุคคลภายนอกนั้นครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคน เมื่อเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปันกัน ทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งปันทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะเลยกำหนดอายุความแล้วก็ตาม
นาง ท. ที่ดินพิพาทจากนาง จ. แม้นาง จ. ถึงแก่กรรมแล้วก็ยังเช่าติดต่อกัน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่านาง ท. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทนาง จ. คือ โจทก์กับจำเลยทั้งสอง มิได้ครอบครองแทนเฉพาะจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นผู้เก็บค่าเช่าก็ตาม และการที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทโดยโจทก์ไม่ทราบประกาศกับมิได้คัดค้านนั้น ยังถือไม่ได้ว่ามีการแบ่งมรดกที่ดินพิพาทแล้ว เพราะการปิดประกาศการขอรับมรดกของเจ้าพนักงานที่ดินก็เพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิเกี่ยวข้องได้ทราบ และมีการกำหนดเวลาไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินสามารถดำเนินการเกี่ยวกับคำ ขอรับมรดกได้หากไม่มีผู้คัดค้าน เมื่อถือว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แล้ว ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2542)
***กรณีที่มีการร้องขอจัดการมรดก และผู้จัดการมรดก ยังมิได้แบ่งปันทรัพย์สินให้แก่ทายาท ต้องถือว่า ผู้จัดการมรดกนั้นครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแทนทายาททุกคน ทายาทคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งปันทรัพย์มรดกได้ แม้จะเลยกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ตาม
เมื่อ นาง ล. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทได้ตกลงแบ่งที่ดินให้แก่ทายาทอันได้แก่นาง บ. จำเลยที่ 1 นาง ก. และนาง ว. สำหรับที่ดินมรดกส่วนของโจทก์นั้นโจทก์ให้นาง บ. ครอบครองไว้แทน
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกตามวรรคก่อน จะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้"
โดยปกติแล้ว สิทธิของทายาทที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้น จะต้องทำภายในอายุความมรดก คือ ภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ตาม มาตรา 1754
แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ทายาทที่ครอบครองนั้นมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ แม้จะเลยกำหนดอายุความมาแล้ว
ตัวอย่าง
***กรณีครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปัน ทายาทที่เข้าครอบครองส่วนของตนตลอดมาแล้ว แม้ต่อมาจะมีเหตุที่ทำให้มิได้ครอบครอง ก็ยังมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้
โจทก์ เป็นบุตรนาย ส.และนาง ค. โดยบิดามารดาโจทก์มีบุตรด้วยกัน 5 คน รวมทั้งนาย ซ. ด้วย จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของนาย ซ. และมีบุตรด้วยกันรวม 5 คน คือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ปัจจุบันบิดามารดาและพี่น้องของโจทก์ถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว เดิมบิดามารดามีที่นาเป็นที่ดินมือเปล่า 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 95 ไร่ หลังจากบิดามารดาถึงแก่กรรมพี่น้องทุกคนให้นาย ซ.ซึ่งเป็นพี่คนโตไปขอออก ส.ค.1 แทนน้องทุกคน โดยตกลงจะแบ่งปันกันภายหลัง ต่อมาน้องคนอื่นถึงแก่กรรมไปหมด ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์และนาย ซ. เพียง 2 คน ซึ่งได้ร่วมกันครอบครองทำกินตลอดมา ภายหลังนาย ซ. ขอออกเป็นโฉนดเลขที่ 3630 โดยความยินยอมของโจทก์ ครั้นปี 2521 โจทก์และนาย ซ. ตกลงแบ่งที่ดินกันคนละครึ่ง โดยส่วนของโจทก์อยู่ทางทิศตะวันตกแต่ระหว่างรอการรังวัดแบ่งแยกนาย ซ.ถึงแก่กรรม หลังจากนาย ซ. ถึงแก่กรรมจำเลยทั้งหกไปยื่นคำขอรับมรดกที่ดินทั้งแปลง แต่โจทก์คัดค้าน แล้วจำเลยทั้งหกตกลงจะแบ่งที่ดินให้โจทก์ตามที่เคยตกลงกับนาย ซ. โจทก์จึงถอนคำคัดค้านและยังครอบครองทำกินในที่ดินส่วนของโจทก์เรื่อยมา จนกระทั่งต้นปี 2535 ฝ่ายจำเลยห้ามโจทก์ไม่ให้เข้าทำนาโดยอ้างว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โจทก์ไปตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินจึงทราบว่าถูกหลอกให้ถอนคำคัดค้าน เพราะจำเลยทั้งหกขอรับโอนมรดกที่ดินไปตั้งแต่ปี 2524 โจทก์จึงแจ้งให้จำเลยทั้งหกไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่จำเลยทั้งหกเพิกเฉย โจทก์จึงมาฟ้องคดีต่อศาล ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนที่เกินส่วนของนาย ซ. ทางด้านทิศตะวันตกเนื้อที่ประมาณ 47 ไร่ 2 งาน 86 ตารางวา และให้จำเลยทั้งหกจัดการจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนดังกล่าวแก่โจทก์ หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
เรื่องนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จะปรากฏว่าภายหลังโจทก์ยื่นคำขอถอนคำค้านการขอรับมรดกที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งหกตามเอกสารหมาย จ.5 ก็ระบุเพียงว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันเองได้แล้วมิใช่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดก จึงไม่มีผลให้ที่ดินพิพาทแปรสภาพเป็นมิใช่ทรัพย์มรดกต่อไปแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และนาย ซ.ร่วมกัน มิใช่เป็นของนาย ซ.แต่ผู้เดียว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้แล้วว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกและทรัพย์มรดกดังกล่าวยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้จะล่วงพ้นอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542)
***กรณีเจ้ามรดกตาย แต่ทรัพย์มรดกนั้นมีบุคคลภายนอกครอบครองอยู่โดยอาศัยสิทธิการเช่า ถือว่าบุคคลภายนอกนั้นครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคน เมื่อเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปันกัน ทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งปันทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะเลยกำหนดอายุความแล้วก็ตาม
นาง ท. ที่ดินพิพาทจากนาง จ. แม้นาง จ. ถึงแก่กรรมแล้วก็ยังเช่าติดต่อกัน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่านาง ท. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทนาง จ. คือ โจทก์กับจำเลยทั้งสอง มิได้ครอบครองแทนเฉพาะจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นผู้เก็บค่าเช่าก็ตาม และการที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทโดยโจทก์ไม่ทราบประกาศกับมิได้คัดค้านนั้น ยังถือไม่ได้ว่ามีการแบ่งมรดกที่ดินพิพาทแล้ว เพราะการปิดประกาศการขอรับมรดกของเจ้าพนักงานที่ดินก็เพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิเกี่ยวข้องได้ทราบ และมีการกำหนดเวลาไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินสามารถดำเนินการเกี่ยวกับคำ ขอรับมรดกได้หากไม่มีผู้คัดค้าน เมื่อถือว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แล้ว ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2542)
***กรณีที่มีการร้องขอจัดการมรดก และผู้จัดการมรดก ยังมิได้แบ่งปันทรัพย์สินให้แก่ทายาท ต้องถือว่า ผู้จัดการมรดกนั้นครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแทนทายาททุกคน ทายาทคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งปันทรัพย์มรดกได้ แม้จะเลยกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ตาม
นาย
อ. เจ้ามรดกมีภริยาสองคน คนแรกชื่อนาง ศ.
มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ
นาง ว.และนาย ฬ. ต่อมานาย อ.กับนาง ศ. เลิกร้างกันไป
บุตรทั้งสองเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายเอื้อนบิดาได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ต่อมานาย อ. จึงได้มาจดทะเบียนสมรสกับจำเลย
ระหว่างอยู่กินกับจำเลยไม่มีบุตรด้วยกัน ส่วนโจทก์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย ฬ. เมื่อปี 2523
นาย ฬ. ถึงแก่ความตาย ต่อมาปี 2526 นาย อ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย อ. ได้ดำเนินการจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพิพาทไปแล้วหลายแปลง มีทั้งที่โอนให้แก่ลูกค้าที่ชำระราคาหมดแล้ว
และโอนแบ่งมรดกให้แก่ทายาทของนายเอื้อนบางคน
รวมทั้งที่โอนให้แก่ตนเองเป็นการส่วนตัวในฐานะที่เป็นภริยาจำนวน 28 แปลง
คงมีที่ดินมรดกของนายเอื้อนเหลืออยู่เพียง 3 แปลงเท่านั้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความหรือไม่
เห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกทรัพย์มรดก
มิใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กระทำไปในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นคดีมรดกไม่ใช่คดีจัดการมรดกดังที่ศาลล่างวินิจฉัย
แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ายังมีที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกอีกจำนวน 3 แปลง
ที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการแบ่งให้แก่ทายาท แสดงว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอยู่ระหว่างจัดการ
เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นผู้แทนของทายาททั้งปวง
โดยนำลักษณะตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1720
การที่จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1368
โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทจึงชอบที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจาก
จำเลยได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วก็ดี ทั้งนี้ตามมาตรา
1748 คดีโจทก์ทั้งสามจึงไม่ขาดอายุความ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2544)
ก. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ย. โจทก์ที่ 1
ถึงที่ 3 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ก. เมื่อ ก. ถึงแก่ความตายก่อน ย. โจทก์ที่
1 ถึงที่ 3 ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ก. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 โจทก์ที่ 1 ถึงที่
3 จึงเป็นทายาทของ ย. ส่วนโจทก์ที่ 4 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นทายาทของ ย.
เช่นกัน เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ส.
จึงเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาท
มีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามกฎหมาย
มีผลให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ย. ไม่จำต้องฟ้องร้องภายในอายุความมรดก 1 ปี เพราะอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และถือได้ว่า ส.
ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทของ ย. ทุกคน แม้ต่อมา ส.
ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย.
ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ ย.
ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลงที่ดินพิพาทยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ
ย. และยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก
ถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นทุกคน
และเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ส.
ก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นทั้งหมดโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2553)
***การครอบครองทรัพย์มรดกของทายาท อาจโดยให้ผู้อื่นครอบครองไว้แทนก็ใช้ได้ เมื่อ นาง ล. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทได้ตกลงแบ่งที่ดินให้แก่ทายาทอันได้แก่นาง บ. จำเลยที่ 1 นาง ก. และนาง ว. สำหรับที่ดินมรดกส่วนของโจทก์นั้นโจทก์ให้นาง บ. ครอบครองไว้แทน
มีปัญหาประเด็นแรกว่า
การแบ่งปันมรดกรายนี้เสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า
เมื่อโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกได้ตกลงแบ่งปันมรดกกันแล้ว
แม้มรดกส่วนที่โจทก์จะได้รับโจทก์ยังไม่เข้าครอบครองในฐานะเจ้าของ
แต่โจทก์ได้ให้นาง บ. ครอบครองแทน
ซึ่งเปรียบเสมือนโจทก์ได้รับส่วนแบ่งและได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยตนเองแล้ว การแบ่งปันมรดกจึงเสร็จสิ้นแล้ว
ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่า
โจทก์และนาง บ.มารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3
เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดยนาง บ.ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไว้แทน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3
ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาหลังจากนาง บ.ถึงแก่ความตาย
จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่ง และมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้อง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2542)
19 กันยายน 2557
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินเพื่ออำพรางสัญญากู้ จะต้องบังคับตามสัญญากู้อันเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้
หลักกฎหมายเรื่องนิติกรรมอำพราง มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง คือ ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น
ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ
กล่าวคือ การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต
และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ และเมื่อการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะ ก็ต้องมาดูว่า การแสดงเจตนาลวงนั้น ทำขึ้นโดยมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร ถ้ารู้ว่ามีเจตนาแท้จริงอย่างไรแล้ว ก็นำกฎหมายที่คู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงมาใช้บังคับ
เช่น ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน เพื่ออำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ก็ต้องนำกฎหมายในเรื่องการกู้ยืมเงินมาใช้บังคับ เป็นต้น
ตัวอย่าง
ข้อเท็จจริงมีว่า
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ารวมสองแปลง ซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1340
ตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อนาย ต.เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่
1341 ตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อจำเลยที่ 1
เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง วันที่ 20 กุมภาพันธ์
2528 นาย ต.และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 32763 และ 32764
มีชื่อนาย ต.กับจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
แต่มีปัญหาว่า สัญญาซื้อขายตามฟ้องโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้หรือไม่
เรื่องนี้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยไว้ว่า ที่โจทก์นำสืบอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเนื้อที่รวม 50 ไร่เศษ จากนาย ต.และจำเลยที่ 1 ในราคา 48,000 บาท นั้น คำนวณราคาได้ไร่ละประมาณ 900 บาท เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ นางสาว น. นางสาว ท. และนาง ย. เบิกความเป็นพยานโจทก์ ในทำนองเดียวกันว่า ปี 2528 พยานทั้งสามมีที่ดินอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ซึ่งมีราคาไร่ละ 2,000 ถึง 3,000 บาท จะเห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทตามท้องตลาดสูงกว่าราคาที่โจทก์อ้างว่านาย ต.และจำเลยที่ 1 ขายให้แก่โจทก์มาก คำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวจึงเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า โจทก์ให้นาย ต.และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องกับโจทก์ ซึ่งเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ โดยให้นาย ต.ลงลายมือชื่อในฉบับที่ระบุจำนวนเงินต้นที่กู้ไปจากโจทก์ 30,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฉบับที่ระบุจำนวนเงินดอกเบี้ย 18,000 บาท และให้โจทก์เข้าทำกินในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายตลอดมา เมื่อคำนวณเงินดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนจากต้นเงิน 30,000 บาท แล้ว ในเวลา 1 ปี ก็จะได้ดอกเบี้ยเป็นเงิน 18,000 บาท พอดี หากนาย ต.และจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ในปี 2528 จริง โจทก์น่าจะดำเนินการให้นาย ต.และจำเลยที่ 1 จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของโจทก์นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกัน เนื่องจากโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แต่โจทก์ก็ไม่ดำเนินการเช่นนั้น จนกระทั่งปี 2532 ทางราชการเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นโฉนดที่ดิน โจทก์ก็มิได้ให้ทายาทของนาย ต.และจำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เพียงแต่โจทก์รับโฉนดที่ดินพิพาทแปลงที่มีชื่อนาย ต.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเก็บรักษาไว้เท่านั้น จนกระทั่งปี 2536 และปี 2541 มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแปลงที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลยที่ 2 และโอนมาเป็นของจำเลยที่ 3 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่อย่างใด การที่โจทก์ปล่อยปละละเลยให้เวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี นับแต่ที่อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจากนาย ต.และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดำเนินการปกป้องสิทธิของตนเองเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อพิรุธของโจทก์อย่างยิ่ง ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทราบดีว่าตนมีสิทธิเพียงเข้าทำกินในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่างดอกเบี้ยเท่านั้นเอง พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีน้ำหนักกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน นิติกรรมการซื้อขายจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคสอง
และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อนาย ต.และจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างนาย ต.กับโจทก์ จึงมีผลบังคับกันได้
เมื่อคดีรับฟังได้ว่านาย ต.และจำเลยที่ 1 มิได้ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่นาย ต.และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์ 30,000 บาท แล้วให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นการทำกินต่างดอกเบี้ย นาย ต.และจำเลยที่ 1 มิได้สละการครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ว่าโจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ได้ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ เพราะยังถือได้ว่าโจทก์ครอบครองแทนนาย ต.หรือทายาทของนาย ต.และจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดไป เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ต.ไม่ประสงค์ให้โจทก์และบริวารอยู่ในที่ดินพิพาทของนาย ต.อีกต่อไป โจทก์และบริวารจึงต้องออกไปจากที่ดินของนายต.นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ต.หรือทายาทของนาย ต.ชำระเงินกู้ 30,000 บาท คืนแก่โจทก์
แต่มีปัญหาว่า สัญญาซื้อขายตามฟ้องโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้หรือไม่
เรื่องนี้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยไว้ว่า ที่โจทก์นำสืบอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเนื้อที่รวม 50 ไร่เศษ จากนาย ต.และจำเลยที่ 1 ในราคา 48,000 บาท นั้น คำนวณราคาได้ไร่ละประมาณ 900 บาท เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ นางสาว น. นางสาว ท. และนาง ย. เบิกความเป็นพยานโจทก์ ในทำนองเดียวกันว่า ปี 2528 พยานทั้งสามมีที่ดินอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ซึ่งมีราคาไร่ละ 2,000 ถึง 3,000 บาท จะเห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทตามท้องตลาดสูงกว่าราคาที่โจทก์อ้างว่านาย ต.และจำเลยที่ 1 ขายให้แก่โจทก์มาก คำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวจึงเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า โจทก์ให้นาย ต.และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องกับโจทก์ ซึ่งเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ โดยให้นาย ต.ลงลายมือชื่อในฉบับที่ระบุจำนวนเงินต้นที่กู้ไปจากโจทก์ 30,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฉบับที่ระบุจำนวนเงินดอกเบี้ย 18,000 บาท และให้โจทก์เข้าทำกินในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายตลอดมา เมื่อคำนวณเงินดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนจากต้นเงิน 30,000 บาท แล้ว ในเวลา 1 ปี ก็จะได้ดอกเบี้ยเป็นเงิน 18,000 บาท พอดี หากนาย ต.และจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ในปี 2528 จริง โจทก์น่าจะดำเนินการให้นาย ต.และจำเลยที่ 1 จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของโจทก์นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกัน เนื่องจากโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แต่โจทก์ก็ไม่ดำเนินการเช่นนั้น จนกระทั่งปี 2532 ทางราชการเปลี่ยนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นโฉนดที่ดิน โจทก์ก็มิได้ให้ทายาทของนาย ต.และจำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เพียงแต่โจทก์รับโฉนดที่ดินพิพาทแปลงที่มีชื่อนาย ต.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเก็บรักษาไว้เท่านั้น จนกระทั่งปี 2536 และปี 2541 มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแปลงที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลยที่ 2 และโอนมาเป็นของจำเลยที่ 3 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่อย่างใด การที่โจทก์ปล่อยปละละเลยให้เวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี นับแต่ที่อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจากนาย ต.และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดำเนินการปกป้องสิทธิของตนเองเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อพิรุธของโจทก์อย่างยิ่ง ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทราบดีว่าตนมีสิทธิเพียงเข้าทำกินในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่างดอกเบี้ยเท่านั้นเอง พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีน้ำหนักกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน นิติกรรมการซื้อขายจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคสอง
และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อนาย ต.และจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างนาย ต.กับโจทก์ จึงมีผลบังคับกันได้
เมื่อคดีรับฟังได้ว่านาย ต.และจำเลยที่ 1 มิได้ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่นาย ต.และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์ 30,000 บาท แล้วให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นการทำกินต่างดอกเบี้ย นาย ต.และจำเลยที่ 1 มิได้สละการครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ว่าโจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ได้ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ เพราะยังถือได้ว่าโจทก์ครอบครองแทนนาย ต.หรือทายาทของนาย ต.และจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดไป เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ต.ไม่ประสงค์ให้โจทก์และบริวารอยู่ในที่ดินพิพาทของนาย ต.อีกต่อไป โจทก์และบริวารจึงต้องออกไปจากที่ดินของนายต.นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ต.หรือทายาทของนาย ต.ชำระเงินกู้ 30,000 บาท คืนแก่โจทก์
สรุปคือ เรื่องนี้ ศาลรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจากนาย ต.และจำเลยที่ 1 เพื่ออำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน จึงต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยถือว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างนาย ต.กับโจทก์
จึงมีผลบังคับกันได้
เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2556
ป้ายกำกับ:
คดีแพ่ง
ตำแหน่ง:
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
18 กันยายน 2557
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แม้อยู่กินฉันสามีภริยา ถ้ามีเจตนาทุจริต เบียดบังเอาทรัพย์สินของอีกฝ่ายที่ตนครอบครองนั้นเป็นของตน ก็มีความผิด
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก
- ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และ
- ผู้กระทำผิดต้องมีเจตนาทุจริต เบียดบังเอาทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม
ตัวอย่าง เช่น นายโจ สามีชาวต่างชาติ มอบเงินให้นางจู ชาวไทยไว้ใช้จ่ายร่วมกันในครอบครัว การที่นางจูอ้างว่า นายโจเป็นชาวต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีได้ นางจูจึงเปิดบัญชีและฝากเงินในชื่อของนางจูเพียงคนเดียว ถือได้ว่านางจูครอบครองเงินที่นายโจเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อนายโจบอกให้นางจูคืนเงินแต่นางจูไม่ยอมคืนให้ การกระทำของนางจูจึงเป็นการเบียดบังยักยอกเอาเงินซึ่งนายโจเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปเป็นของตนโดยทุจริต นางจูจึงมีความผิดฐานยักยอก
กรณีนี้มีข้อเท็จจริงว่า เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2550 โจทก์ร่วมซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย รู้จักจำเลยและอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาโจทก์ร่วมซื้อที่ดินที่อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมาและปลูกสร้างบ้านอยู่กับจำเลย ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2550 โจทก์ร่วมต้องเดินทางกลับประเทศอังกฤษ ต่อมาจำเลยได้รับเงินตามฟ้องจากโจทก์ร่วม และเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550 จำเลยนำเงินดังกล่าวฝากธนาคารในนามของจำเลย เมื่อโจทก์ร่วมทวงถามจำเลยไม่ยินยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ร่วม และไม่กลับไปอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ร่วมอีก วันที่ 27 ธันวาคม 2550 โจทก์ร่วมไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้ติดตามจำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมาคืน แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ ต่อมาวันที่ 11 มกราคม 2551 โจทก์ร่วมจึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาฐานยักยอกทรัพย์เงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์ร่วมไปเป็นคดีนี้
ข้อเท็จจริงมีว่า หลังจากโจทก์ร่วมอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยแล้ว โจทก์ร่วมได้ออกเงินซื้อที่ดินและปลูกสร้างบ้านโดยใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เนื่องจากโจทก์ร่วมไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ต่อมาหลังจากโจทก์ร่วมเดินทางจากประเทศอังกฤษกลับมาประเทศไทย เมื่อวันที่17 ธันวาคม 2550 โจทก์ร่วมได้มอบเงิน 400,000 บาท กับเงินที่เหลือจากการตกแต่งบ้านอีก 50,000 บาท รวมเป็นเงิน 450,000 บาท ให้จำเลยนำไปฝากธนาคารในชื่อบัญชีโจทก์ร่วมร่วมกับจำเลยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายร่วมกัน แต่จำเลยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นชาวต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีได้ จำเลยจึงเปิดบัญชีและฝากเงินในชื่อของจำเลยเพียงคนเดียว ต่อมาวันที่ 19 ธันวาคม 2550 โจทก์ร่วมทราบว่าโจทก์ร่วมสามารถเปิดบัญชีเงินฝากได้เอง จึงเปิดบัญชีเงินฝากในชื่อของโจทก์ร่วม หลังจากนั้นโจทก์ร่วมบอกจำเลยให้นำเงิน 450,000 บาท ซึ่งอยู่ในบัญชีของจำเลยนำเข้าบัญชีของโจทก์ร่วม แต่จำเลยผัดผ่อนเรื่อยมาอ้างว่าจะไปดำเนินการให้ในวันรุ่งขึ้น แต่สุดท้ายจำเลยไม่ยอมโอนเงินให้แก่โจทก์ร่วม หลังจากนั้นจำเลยได้หนีออกจากบ้านไป ไม่กลับมาที่บ้านอีก โจทก์ร่วมโทรศัพท์บอกให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ร่วม แต่จำเลยปิดโทรศัพท์ไม่ยอมพูดคุยด้วย โจทก์ร่วมจึงไม่ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยอีก
ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยไว้ว่า การที่โจทก์ร่วมมอบเงินเข้าบัญชีของจำเลยเนื่องจากเข้าใจว่าชาวต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีได้ อันแสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมไม่ได้ประสงค์ที่จะมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทั้งหมดเพียงคนเดียว โจทก์ร่วมยังประสงค์ที่จะนำเงินฝากมาใช้จ่ายร่วมกันในส่วนของโจทก์ร่วมด้วย แต่เมื่อจำเลยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นชาวต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีได้ ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อ ดังนั้น การที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากในชื่อของจำเลยเพียงคนเดียวจึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองเงินตามฟ้องที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ว่าหลังจากโจทก์ร่วมบอกให้จำเลยคืนเงินและนำเงินจำนวนดังกล่าวไปเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยผัดผ่อนเรื่อยมา ไม่ยอมโอนเงินให้แก่โจทก์ร่วมและหาเหตุหนีออกจากบ้านไป ไม่ยอมกลับมาอยู่กับโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมโทรศัพท์ให้จำเลยคืนเงิน จำเลยก็ปิดเครื่องโทรศัพท์ไม่ยอมพูดคุยด้วย อันส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเอาเงินดังกล่าวเป็นของจำเลยคนเดียวทั้งหมด ทั้งยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า หลังเกิดเหตุ 3 ถึง 4 เดือน จำเลยก็ได้แต่งงานใหม่กับสามีคนไทย การที่จำเลยอยู่กินกับโจทก์ร่วมก็เพียงเพื่อต้องการได้ผลประโยชน์จากโจทก์ร่วมเท่านั้น เมื่อโจทก์ร่วมขอให้จำเลยโอนเงินที่ฝากไว้ในชื่อจำเลยเข้าบัญชีของโจทก์ร่วม จำเลยก็บ่ายเบี่ยงหาทางเลิกกับโจทก์ร่วมโดยหนีออกจากบ้านไม่มาอยู่ กับโจทก์ร่วมเพื่อไม่ต้องการคืนเงินให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อเงินในบัญชีเงินฝากในชื่อของจำเลยเป็นเงินของโจทก์ร่วมและจำเลยร่วมกัน จำเลยได้ถอนเงินของโจทก์ร่วมไปและไม่ยอมถอนเงินคืนให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเบียดบังยักยอกเอาเงินซึ่งโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต อันเป็นความผิดฐานยักยอกตามที่โจทก์ฟ้อง หาใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22267/2555)
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะอยู่กินฉันสามีภริยากัน แต่ถ้ามีเจตนาทุจริต เบียดบังทรัพย์สินที่อีกฝ่่ายเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ก็เป็นความผิดอาญาฐานยักยอกได้
ความผิดฐานยักยอก เป็นความผิดที่สามารถยอมความได้ ดังนั้น จึงต้องมีการร้องทุกข์ก่อน จึงจะทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน และการร้องทุกข์หรือกรณีไม่ร้องทุกข์แต่เลือกจะฟ้องคดีเองนั้น ต้องกระทำภายในอายุความสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
ป้ายกำกับ:
คดีอาญา
17 กันยายน 2557
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หากผู้จะซื้อผิดสัญญา แต่ผู้จะขายยังต้องการบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป ผู้จะขายไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ
โดยปกติแล้ว กรณีทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หากผู้จะซื้อผิดสัญญา ผู้จะขายย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นได้ แต่ถ้าผู้จะขายยังต้องการบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป ผู้จะขายก็ไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำนั้น รวมทั้งไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับ
ตัวอย่าง
นายเอ ทำสัญญาจะซื้อที่ดินหนึ่งแปลงจาก นายบี ราคา 6 แสนบาท วางมัดจำไว้ 3 หมื่นบาท และนัดไปจดทะเบียนการซื้อขายกัน ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 8 สิงหาคม 2557 โดยสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ถ้านายเอ ผิดสัญญาไม่ซื้อหรือไม่ไปรับโอนที่ดินภายในกำหนด ยินยอมให้นายบึริบมัดจำและเรียกเบี้ยปรับได้อีก 3 หมื่นบาท หลังจากทำสัญญาแล้ว นายเอ เห็นว่าที่ดินที่จะซื้อตามสัญญามีราคาสูงเกินไป จึงไม่ยอมซื้อที่ดินตามสัญญา โดยขอให้นายบีริบเงินมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ แต่นายบียังคงต้องการขายที่ดินตามสัญญา จึงฟ้องบังคับนายเอซื้อที่ดินตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายรวมทั้งริบมัดจำและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา
ศาลมีคำวินิจฉัยว่า เมื่อนายเอไม่ซื้อที่ดินตามสัญญาอันเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้ นายบีเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายเอปฏิบัติตามสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 แต่เมื่อนายบีเจ้าหนี้บังคับให้นายเอลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญา นายเอเจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิริบมัดจำ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378(2) เพราะเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ต้องส่งมัดจำคืนหรือหักมัดจำเป็นการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378(1) ส่วนถ้าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อย่างไร ก็ย่อมเรียกเอาได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 215
ส่วนที่สัญญาระบุให้เรียกเบี้ยปรับ 3 หมื่นบาท กรณีนายเอผิดสัญญาไม่ซื้อที่ดินนั้น เป็นการที่ลูกหนี้ให้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้หรือเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิทธิของนายบี ที่จะเลือก ดังนั้น เมื่อนายบีเลือกที่จะเรียกให้นายเอซื้อที่ดินโดยการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อไป อันเป็นการเลือกในทางบังคับให้นายเอลูกหนี้ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 สิทธิเรียกเบี้ยปรับย่อมหมดไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380
สรุปแล้ว นายบีมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายเอซื้อที่ดินตามสัญญาและเรียกค่าเสียหาย แต่ไม่มีสิทธิริบมัดจำและเรียกเบี้ยปรับด้วย
(เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2506, 556/2511)
ตัวอย่าง
นายเอ ทำสัญญาจะซื้อที่ดินหนึ่งแปลงจาก นายบี ราคา 6 แสนบาท วางมัดจำไว้ 3 หมื่นบาท และนัดไปจดทะเบียนการซื้อขายกัน ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 8 สิงหาคม 2557 โดยสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ถ้านายเอ ผิดสัญญาไม่ซื้อหรือไม่ไปรับโอนที่ดินภายในกำหนด ยินยอมให้นายบึริบมัดจำและเรียกเบี้ยปรับได้อีก 3 หมื่นบาท หลังจากทำสัญญาแล้ว นายเอ เห็นว่าที่ดินที่จะซื้อตามสัญญามีราคาสูงเกินไป จึงไม่ยอมซื้อที่ดินตามสัญญา โดยขอให้นายบีริบเงินมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ แต่นายบียังคงต้องการขายที่ดินตามสัญญา จึงฟ้องบังคับนายเอซื้อที่ดินตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายรวมทั้งริบมัดจำและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา
ศาลมีคำวินิจฉัยว่า เมื่อนายเอไม่ซื้อที่ดินตามสัญญาอันเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้ นายบีเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายเอปฏิบัติตามสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 แต่เมื่อนายบีเจ้าหนี้บังคับให้นายเอลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญา นายเอเจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิริบมัดจำ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378(2) เพราะเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ต้องส่งมัดจำคืนหรือหักมัดจำเป็นการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378(1) ส่วนถ้าเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อย่างไร ก็ย่อมเรียกเอาได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 215
ส่วนที่สัญญาระบุให้เรียกเบี้ยปรับ 3 หมื่นบาท กรณีนายเอผิดสัญญาไม่ซื้อที่ดินนั้น เป็นการที่ลูกหนี้ให้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้หรือเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิทธิของนายบี ที่จะเลือก ดังนั้น เมื่อนายบีเลือกที่จะเรียกให้นายเอซื้อที่ดินโดยการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อไป อันเป็นการเลือกในทางบังคับให้นายเอลูกหนี้ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 สิทธิเรียกเบี้ยปรับย่อมหมดไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380
สรุปแล้ว นายบีมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายเอซื้อที่ดินตามสัญญาและเรียกค่าเสียหาย แต่ไม่มีสิทธิริบมัดจำและเรียกเบี้ยปรับด้วย
(เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2506, 556/2511)
ป้ายกำกับ:
คดีแพ่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)