ป.พ.พ.
มาตรา 169 "การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา แต่ถ้าได้บอกถอนไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้น ก่อนหรือพร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา การแสดงเจตนานั้นตกเป็นอันไร้ผล
การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังการแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ"
มาตรา 360 "บทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสอง นั้น ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหากว่าขัดกับเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือหากว่าก่อนจะสนองรับนั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ"
มาตรา 454 "การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายนั้น จะมีผลเป็นการซื้อขายต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้บอกกล่าวความจำนงว่าจะทำการซื้อขายนั้นให้สำเร็จตลอดไป และคำบอกกล่าวเช่นนั้นได้ไปถึงบุคคลผู้ให้คำมั่นแล้ว
ถ้าในคำมั่นมิได้กำหนดเวลาไว้เพื่อการบอกกล่าวเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ให้คำมั่นจะกำหนดเวลาพอสมควร และบอกกล่าวไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ตอบมาเป็นแน่นอนภายในเวลากำหนดนั้นก็ได้ ว่าจะทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไปหรือไม่ ถ้าและไม่ตอบเป็นแน่นอนภายในกำหนดเวลานั้นไซร้ คำมั่นซึ่งได้ให้ไว้ก่อนนั้นก็เป็นอันไร้ผล"
สัญญาเช่าและคำมั่นจะให้ต่อสัญญาเช่า โดยผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ากู้เงินเพื่อซื้อที่ดินแล้วนำที่ดินมาจดจำนองไว้แก่ผู้เช่า เป็นสัญญาที่มีสภาพบังคับโดยสมบูรณ์ในตัวของแต่ละสัญญา สัญญาทั้งสองประเภทแม้จะผูกโยงสิทธิประโยชน์ต่อกัน แต่โดยผลแห่งสัญญาแล้ว แต่ละฝ่ายได้ป้องกันสิทธิอันจะก่อผลได้เสียภายหน้าของแต่ละสัญญาแล้ว ถ้าหากมี แต่ไม่ได้มีข้อตกลงที่เพิ่มภาระแก่ผู้เช่าให้ต้องปฏิบัติยิ่งกว่าหน้าที่ของผู้เช่าตามปกติ จึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
ดังที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2547 - ต. ให้จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทมีกำหนด 30 ปี และจะให้จำเลยที่ 1 เช่าต่อไปอีก 30 ปี หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงถ้าจำเลยที่ 1 ต้องการ โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้ ต. กู้ยืมเงิน 300,000 บาท เพื่อนำไปซื้อที่ดินพิพาท การกู้ยืมเงิน ต. จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยังไม่เรียกให้ ต. ชำระดอกเบี้ยนับแต่กู้ยืมเงินแต่ให้ชำระเมื่อครบกำหนดการเช่า 30 ปี ถ้ามีการต่ออายุสัญญาเช่าเป็นงวดที่สองอีก 30 ปี จำเลยที่ 1 จะไม่เรียกร้องดอกเบี้ยดังกล่าว ดังนี้ การได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาที่มีสภาพบังคับโดยสมบูรณ์ในตัวของแต่ละสัญญา สัญญาทั้งสองประเภทแม้จะผูกโยงสิทธิประโยชน์ต่อกัน แต่โดยผลแห่งสัญญาแล้ว แต่ละฝ่ายได้ป้องกันสิทธิอันจะก่อผลได้เสียภายหน้าของแต่ละสัญญาแล้ว ถ้าหากมี หาใช่ข้อตกลงที่เพิ่มภาระแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่าให้ต้องปฏิบัติยิ่งกว่าหน้าที่ของผู้เช่าตามปกติ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ต. กับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
ข้อความตามข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงคำมั่นของ ต. ว่าจะให้จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทต่อไปเท่านั้น ยังไม่ก่อให้เกิดสัญญา แม้สัญญาเช่าเดิมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ แต่คำมั่นนี้ก็ยังไม่มีผลผูกพัน ต. เพราะยังไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้สนองรับก่อน ต. ถึงแก่ความตาย ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รู้อยู่แล้วว่า ต. ถึงแก่ความตายก่อนสัญญาเช่าจะครบกำหนด 30 ปี กรณีก็ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติว่ามิให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับ คำมั่นของ ต. ย่อมไม่มีผลบังคับ และไม่เป็นมรดกของ ต. จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เช่าให้ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จำเลยที่ 1 จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนต่ออายุการเช่าที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 อีก 30 ปีไม่ได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ผู้เช่า และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้อยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าตามสัญญาเช่าปีละ 6,000 บาท ซึ่งถือได้ว่ามีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องชั้นอุทธรณ์และฎีกาไม่เกินเดือนละ 4,000 บา และ 10,000 บาท ตามลำดับ แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องด้วยว่าหากโจทก์จะให้ผู้อื่นเช่าในปัจจุบันจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 3,000,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายเดือนละ 3,000,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสามจะส่งมอบที่ดินพิพาทในสภาพเรียบร้อยคืนโจทก์ โดยโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าหรือผู้อาศัยออกจากที่ดินพิพาทเท่านั้น คู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง และมาตรา 248 วรรคสอง
ประเด็นตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อแรกมีว่า สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างนาย ต. กับจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.4 เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ เห็นว่า จำเลยที่ 1 ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์สินจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงตามบทกฎหมายเบื้องต้น สำหรับข้ออ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของนาย ต.เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมเงิน กับการเช่าที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ข้างต้นเป็นสัญญาที่มีสภาพบังคับโดยสมบูรณ์ในตัวของแต่ละสัญญา สัญญาทั้งสองประเภทแม้จะผูกโยงสิทธิประโยชน์ต่อกัน แต่โดยผลแห่งสัญญาแล้ว แต่ละฝ่ายได้ป้องกันสิทธิอันจะก่อผลได้เสียภายหน้าของแต่ละสัญญาแล้ว ถ้าหากมี หาใช่ข้อตกลงที่เพิ่มภาระแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่าให้ต้องปฏิบัติยิ่งกว่าหน้าที่ของผู้เช่าตามปกติธรรมดาไม่ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างนาย ต. กับจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามในประเด็นข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ประเด็นตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อสองมีว่า จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งขอให้พิพากษาบังคับโจทก์ปฏิบัติตามข้อความในหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทตามเอกสารหมาย จ.4 ข้อ 3.2 ได้หรือไม่ ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ตามสัญญาที่ดินพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ในข้อ 3.2 มีข้อตกลงว่านาย ต.ผู้ให้เช่าจะให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 30 ปี หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงถ้าจำเลยที่ 1 ต้องการ โดยจำเลยที่ 1 ต้องมีหนังสือแจ้งแก่นาย ต.ผู้ให้เช่าก่อนสิ้นอายุการเช่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2539 โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกและผู้จัดการมรดกของนาย ต.ผู้ให้เช่าได้มีหนังสือตามเอกสารหมาย จ.9 แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ทราบว่านาย ต.ผู้ให้เช่าได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2539 และจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งแล้วตามใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย จ.10 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นเวลาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือตามเอกสารหมาย ล.3 (ตรงกับเอกสารหมาย จ.11) แจ้งความประสงค์ในการที่จะเช่าที่ดินพาทต่อไปอีก 30 ปี แก่โจทก์และโจทก์ได้รับแจ้งแล้ว โจทก์ปฏิเสธที่จะให้จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก เห็นว่า ข้อความตามข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ดินพิพาทเอกสารหมาย จ.4 ข้อ 3.2 ดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นแต่เพียงคำมั่นของนาย ต.ว่าจะให้จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทต่อไปเท่านั้นยังไม่ก่อให้เกิดสัญญา แม้สัญญาเช่าเดิมตามเอกสารหมาย จ.4 จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ แต่คำมั่นนี้ก็ยังไม่มีผลผูกพันนาย ต.เพราะยังไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้สนองรับก่อนนาย ต.ถึงแก่ความตาย ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รู้อยู่แล้วว่านาย ต.ถึงแก่ความตายก่อนสัญญาเช่าจะครบกำหนด 30 ปี กรณีก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติว่ามิให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับ เหตุนี้คำมั่นของนาย ต.ย่อมไม่มีผลบังคับและไม่เป็นมรดกของนาย ต. จึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นทายาทผู้รับมรดกที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เช่าให้ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ดังจำเลยทั้งสามฎีกา จำเลยที่ 1 จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนต่ออายุการเช่าที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 อีก 30 ปี ไม่ได้ ส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาอ้างว่าการที่จะให้ผู้เช่าสนองรับคำมั่นของผู้ให้เช่าก่อนผู้ให้เช่าถึงแก่ความตายย่อมไม่อาจกระทำได้ เพราะการถึงแก่ความตายของผู้ให้เช่าก่อนสิ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเช่าเดิมเป็นเรื่องสุดวิสัยที่ทางผู้เช่าจะทราบได้นั้น เห็นว่า ถ้าข้อเท็จจริงไม่ปรากฏหรือฟังไม่ได้ว่าผู้เช่าได้รู้หรือทราบก่อนจะสนองรับว่าผู้ให้เช่าถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว กรณีก็ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 360 ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับ คำมั่นของผู้ให้เช่าจึงไม่เสื่อมเสียไป มีผลผูกพันทายาทผู้รับมรดกหรือผู้รับโอนให้ต้องปฏิบัติตาม แต่สำหรับคดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นฟังมาว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้อยู่แล้วหรือทราบก่อนจะสนองรับว่านาย ต.ผู้ให้เช่าถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว กรณีก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 360 ดังที่ได้วินิจฉัยมาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสามในประเด็นข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ทนายความ รับปรึกษาคดี และ ว่าความ ทั่วราชอาณาจักร คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญา คดีแรงงาน อุทธรณ์ฎีกา อุทธรณ์คดีเวนคืนที่ดิน โทร. 0648578506 หรือไลน์ไอดี wc_lawyer
04 เมษายน 2559
สัญญาเช่าและคำมั่นจะให้ต่อสัญญาเช่า โดยผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่ากู้เงินเพื่อซื้อที่ดินแล้วนำที่ดินมาจดจำนองไว้แก่ผู้เช่า เป็นสัญญาที่มีสภาพบังคับโดยสมบูรณ์ในตัวของแต่ละสัญญา แต่ไม่ได้มีข้อตกลงที่เพิ่มภาระแก่ผู้เช่าให้ต้องปฏิบัติยิ่งกว่าหน้าที่ของผู้เช่าตามปกติ จึงไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
ป้ายกำกับ:
คดีแพ่ง
03 เมษายน 2559
การสอบสวนโดยเจ้าพนักงานที่ไม่มีอำนาจสอบสวนในความผิดที่ฟ้อง เป็นการสอบสวนที่มิชอบ อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 120 "ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน"
มาตรา 134 "เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ
............................. "
มาตรา 120 "ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน"
มาตรา 134 "เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ
............................. "
คดีอาญานั้นต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น หากเป็นการสอบสวนที่ทำขึ้นโดยคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ไม่มีอำนาจสอบสวนในความผิดนั้น การสอบสวนนั้นก็เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลเท่ากับความผิดนั้นยังไม่มีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนมาก่อน จึงห้ามมิให้อัยการฟ้องคดี และหากมีการฟ้องคดีไป ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
ดังมีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2556 - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหาได้มีอำนาจที่จะตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม รายงานการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็มิได้ชี้มูลความผิดฐานนี้ การที่อนุกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนในความผิดฐานนี้มาด้วย จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ และแม้การสอบสวนของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงซึ่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรแต่งตั้งจะพบการกระทำความผิดฐานนี้ ก็มิใช่การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหานี้ให้จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว
จำเลยเป็นพนักงานสอบสวนแก้ไขข้อความในสำนวนการสอบสวนจากเดิมที่มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาเป็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาหลังจากเสนอสำนวนการสอบสวนให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นลงชื่อแล้วเพื่อช่วยผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และ 200 วรรคแรก
+ ---------------------+
คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200, 264, 265, 268
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังเป็นยุติว่า นาง ส. ขับรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บ - 4091 ตาก ชนกับรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บ - 8214 กำแพงเพชร และ 5ท - 4810 เชียงใหม่ มีผู้ถึงแก่ความตายและรับอันตรายสาหัส เหตุเกิดที่ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยจำเลยเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีนาง ส.ผู้ต้องหาในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนรถของผู้อื่นเสียหายและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและรับอันตรายสาหัส ตามสำนวนการสอบสวนคดีจราจรที่ 18/2541 ต่อมาจำเลยย้ายไปรับราชการที่สถานีตำรวจภูธรปางมะค่า ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 294/2542 มีคำสั่งเรียกสำนวนการสอบสวนไปยังผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองกำแพงเพชร พันตำรวจเอก ศ. ตรวจสอบแล้วไม่พบหลักฐานการส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร จึงติดต่อแจ้งให้จำเลยนำสำนวนการสอบสวนไปมอบให้ จำเลยนำสำนวนการสอบสวนคดีจราจรที่ 18/2541 ไปมอบให้พันตำรวจเอก ศ.พบว่า มีการแก้ไขข้อความในสำนวนการสอบสวนหลายแห่งด้วยการใช้น้ำยาลบข้อความเดิมออกแล้วพิมพ์กับเขียนข้อความใหม่แทน โดยแก้ไขหนังสือส่งสำนวนจากข้อความเดิม “ส่งสำนวนที่เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาฝากขัง” เป็น “ส่งสำนวนที่เห็นควรสั่งไม่ฟ้องและได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว” แก้ไขรายงานการสอบสวนจากข้อความ “ให้การสอดคล้องต้องกันและจากการสอบสวนผู้ต้องหาแล้วรับว่าได้ขับรถคันเกิดเหตุมาจริงแต่ไม่ได้เฉี่ยวชนรถของผู้ใด โดยพนักงานสอบสวนได้ตรวจสอบสภาพที่เกิดเหตุและพิเคราะห์ร่องรอยของรถที่ถูกเฉี่ยวชนแล้วไม่ได้เป็นไปตามคำให้การของผู้ต้องหา แต่เป็นไปตามคำให้การของพยานที่มากับรถยนต์กระบะสองคันที่ถูกรถของผู้ต้องหา” เป็น “ให้การสอดคล้องต้องกันว่ามีรถจักรยานยนต์คันหนึ่งขับมาตัดหน้ารถของผู้ต้องหาในระยะกระชั้นชิดเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาต้องหักหลบรถจึงเสียหลักวิ่งมาชนเกาะกลางถนนแล้วข้ามมาชนกับรถผู้อื่น จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้ต้องหาจะหลีกเลี่ยงได้ในขณะนั้น สาเหตุที่ผู้ต้องหาขับรถมาชนรถของผู้อื่นนี้จึงเป็นเหตุสุดวิสัย อันเป็นอุบัติเหตุซึ่งไม่อาจคาดคิดได้” แก้ไขจากข้อความ “สั่งฟ้อง” เป็น “สั่งไม่ฟ้อง” แก้ไขบันทึกการควบคุมตัวผู้ต้องหาจากข้อความ “ได้ไปขอฝากขังผู้ต้องหาเป็นครั้งที่ 7 นับแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2541 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2541” เป็น “ได้ขอปล่อยตัวผู้ต้องหาต่อศาล เนื่องจากมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา” และแก้ไขคำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหาจากตัวเลข “19” เป็นเลข “8” พันตำรวจเอก ศ.รายงานไปยังผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานและทำรายงานความเห็นต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรว่า การกระทำของจำเลยมีมูล 1. กระทำผิดวินัยร้ายแรง โดยเป็นพนักงานสอบสวนรับผิดชอบสำนวนการสอบสวนคดีจราจรที่ 18/2541 แล้วไม่ส่งสำนวนดังกล่าวให้พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรพิจารณาตามระเบียบและกฎหมาย แต่ได้นำเอาสำนวนการสอบสวนไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขสำระสำคัญซึ่งไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง 2. กระทำผิดกฎหมายอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 3. กระทำผิดกฎหมายอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จึงเห็นควรตั้งคณะกรรมการพิจารณาภาคทัณฑ์ทางวินัยร้ายแรงตามข้อ 1 และเห็นควรดำเนินคดีอาญา ตามข้อ 2 และ 3 ตามรายงานผลการสืบสวนข้อเท็จจริง พันตำรวจเอก ศ.เข้าร้องทุกข์ต่อพันตำรวจโท พ. พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน คณะอนุกรรมการไต่สวนรายงานการไต่สวนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติว่า การกระทำของจำเลยมีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและมีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าพนักงานสอบสวน กระทำการหรือไม่กระทำการใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200 กับส่งรายงานเอกสารและความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 97
มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้คัดค้านพันตำรวจเอก ข.และพันตำรวจโท พ.อนุกรรมการไต่สวนว่า เป็นผู้รู้เห็นเกี่ยวข้องในทางคดีและมีอคติโกรธเคืองกันในเรื่องส่วนตัว พันตำรวจโท พ.ถอนตัวไป แต่พันตำรวจเอก ข.ไม่ขอถอนตัวยังคงปฏิบัติหน้าที่ร่วมถามปากคำพยานรวม 7 ปาก กับร่วมลงชื่อในรายงานการไต่สวน จึงไม่อาจฟังว่าพันตำรวจเอก ข.ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อรายงานการไต่สวนมีพันตำรวจเอก ข.ร่วมลงชื่อด้วย อันถือได้ว่าเป็นสำนวนการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เท่ากับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องแล้วพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ด้วยเหตุผลเดียวกัน ที่โจทก์ฎีกาว่ารายงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นสำนวนการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง เห็นว่า อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 84 (เดิม) เป็นเรื่องการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หาได้มีอำนาจที่จะตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 268 ด้วยไม่ ทั้งตามรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็ได้ไต่สวนและมีมติว่าการกระทำของจำเลยมีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นพนักงานสอบสวนกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษ หรือให้รับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200 มิได้ชี้มูลความผิดจำเลยฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมด้วย เพราะเหตุที่มิใช่เป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่การตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตินั่นเอง ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าอนุกรรมการไต่สวนดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและยกฟ้องจำเลยในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมด้วยเหตุผลดังกล่าวด้วยจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากที่พันตำรวจเอก ศ.เข้าร้องทุกข์ต่อพันตำรวจโท พ.ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย พันตำรวจโท พ.มิได้แจ้งข้อหาความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมให้จำเลยทราบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 กับมิได้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม แม้การสอบสวนของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงซึ่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรแต่งตั้งจะได้พบการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ก็มิใช่เป็นการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 ถือได้ว่าคดีนี้มิได้มีการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมมาก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาจึงเห็นพ้องด้วยในผล ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคแรก จำเลยนำสืบว่าจำเลยได้คัดค้านพันตำรวจเอก ข.และพันตำรวจโท พ.อนุกรรมการไต่สวนว่า เป็นผู้รู้เห็นเกี่ยวข้องในทางคดีและมีอคติโกรธเคืองกันในเรื่องส่วนตัว ตามหนังสือเรื่อง ขอคัดค้านผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการไต่สวน ซึ่งพันตำรวจโท พ.ได้ถอนตัวไป ส่วนพันตำรวจเอก ข.ยังคงปฏิบัติหน้าที่ร่วมถามปากคำพยานรวม 7 ปาก การทำหน้าที่ร่วมถามปากคำของพันตำรวจเอก ข. ขัดกับมาตรา 46 วรรคสองและวรรคสาม ทำให้การสอบสวนไม่ชอบนั้น เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 46 วรรคท้าย บัญญัติว่า “การยื่นคำคัดค้าน การพิจารณาคำคัดค้าน และการแต่งตั้งบุคคลเป็นอนุกรรมการไต่สวนแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนด” ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ.2543 ข้อ 9 ระบุว่า “คำคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานกรรมการภายในเจ็ดวันนับแต่วันรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน หรือวันทราบเหตุแห่งการคัดค้านโดยแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในคำคัดค้านด้วยว่าจะทำให้การไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ได้ความจริงและความยุติธรรมอย่างใด” ซึ่งตามหนังสือที่จำเลยอ้างว่าคัดค้านตามเอกสารนั้น ระบุเพียงว่ามีอคติโกรธเคืองในเรื่องส่วนตัวและเป็นผู้รู้เห็นเกี่ยวข้องในทางคดี อันเป็นเหตุตามมาตรา 46 (1) (3) เท่านั้น แต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในคำคัดค้านด้วยว่าจะทำให้การไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ได้ความจริงและความยุติธรรมอย่างใด นอกจากนี้พยานโจทก์ปากนาย ซ.เบิกความตอบโจทก์ถามติงว่า “หนังสือที่จำเลยอ้างว่าคัดค้านตามเอกสาร ไม่มีการลงเลขรับเอกสารไว้ตามระเบียบงานสารบรรณ และพยานเพิ่งเคยเห็นเอกสาร เมื่อมีการแจ้งให้จำเลยคัดค้านอนุกรรมการไต่สวน จำเลยไม่ได้คัดค้าน พยานเข้าใจว่าจำเลยคงติดต่อกับประธานอนุกรรมการทางโทรศัพท์” ซึ่งเมื่อพิจารณาหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวน ระบุให้จำเลยลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบคำสั่ง แล้วส่งคืนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายใน 15 วัน โดยบันทึกรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน จำเลยลงชื่อรับทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 ตรงกับวันที่ส่งในใบรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ที่จำเลยส่งคืนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีการลงเลขรับเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 แต่หนังสือที่จำเลยอ้างว่าคัดค้านอนุกรรมการไต่สวน ไม่ปรากฏว่ามีการลงเลขรับเอกสารไว้ หากเอกสารทั้งสองฉบับได้ส่งทางไปรษณีย์ไปพร้อมกันจริง ก็น่าจะมีการลงเลขรับเอกสารในวันเดียวกัน แต่หนังสือที่จำเลยอ้างว่าคัดค้านอนุกรรมการไต่สวน ไม่มีการลงเลขรับเอกสาร จึงน่าเชื่อว่าใบรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษ เป็นหลักฐานการส่งบันทึกรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน ไม่ใช่หลักฐานการส่งหนังสือคัดค้าน ดังที่จำเลยกล่าวอ้าง อีกทั้งสำนวนรายงานการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่จำเลยขอหมายเรียกมาจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ก็ไม่ปรากฏว่ามีเรื่องการคัดค้านอนุกรรมการไต่สวนตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านอนุกรรมการไต่สวนเป็นหนังสือในวันที่ 15 มกราคม 2544 จริง เมื่อการคัดค้านอนุกรรมการไต่สวนของจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายจึงไม่มีผลกระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ของพันตำรวจเอก ข.และไม่มีผลทำให้รายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นสำนวนการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 97 เสียไปหรือเป็นการไม่ชอบ ส่วนที่จำเลยนำสืบว่า พันตำรวจเอก ข.เคยขอให้จำเลยช่วยเหลือและจำเลยไม่สามารถช่วยเหลือได้จึงทำให้พันตำรวจเอก ข.ไม่พอใจ ก็เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า พันตำรวจเอก ข.มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงเป็นไปโดยชอบ ถือได้ว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคแรก มีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว สำหรับปัญหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวนกระทำการหรือไม่กระทำการในตำแหน่งอย่างใดๆ โดยมิชอบเพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลงหรือไม่นั้น ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่ศาลชั้นต้นได้สืบพยานคู่ความจนเสร็จสิ้นแล้วเพื่อมิให้ล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาพิพากษาใหม่ ซึ่งโจทก์มีพันตำรวจโท พ. รองผู้กำกับการตำรวจภูธรเมืองกำแพงเพชรและพันตำรวจเอก น. ผู้กำกับการตำรวจภูธรเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยและร่วมลงชื่อในสำนวนการสอบสวนคดีจราจรที่ 18/2541 เพื่อส่งสำนวนและความเห็นไปยังพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรเป็นพยาน โดยพันตำรวจโท พ.เบิกความว่า พยานมีความเห็นสั่งฟ้องนาง ส. ผู้ต้องหาแล้วเสนอความเห็นต่อไปยังผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น การแก้ไขข้อความกระทำหลังจากพยานมีความเห็นและลงชื่อในเอกสารแล้ว ส่วนพันตำรวจเอก น.แม้เบิกความว่า ขณะที่ลงชื่อพยานจำไม่ได้ว่ามีความเห็นสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง แต่พยานเชื่อว่าเป็นการแก้ไขภายหลัง เพราะไม่มีการลงชื่อกำกับการแก้ไขไว้และหากเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดจำนวนมากก็จะให้พิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีเหตุผลและข้อสงสัยใดที่พยานทั้งสองจะต้องเบิกความบิดเบือนความจริง ทั้งหากมีการแก้ไขข้อความจำนวนมากซึ่งสกปรกเลอะเทอะอย่างเห็นได้ชัด ไม่เชื่อว่าพยานทั้งสองจะยอมลงชื่อและทำความเห็นในสำนวนการสอบสวน ซึ่งต้องเสนอไปให้พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรพิจารณาโดยไม่สั่งให้จำเลยไปทำมาใหม่ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยแก้ไขข้อความในสำนวนการสอบสวนหลังจากที่จำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนที่มีความเห็นสั่งฟ้องนาง ส.ผู้ต้องหาให้พันตำรวจโท พ.และพันตำรวจเอก น. ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นลงชื่อในสำนวนการสอบสวนเพื่อส่งสำนวนและความเห็นไปยังพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร หาใช่เป็นการแก้ไขก่อนจำเลยเสนอสำนวนต่อบุคคลทั้งสองดังจำเลยอ้างไม่ ที่จำเลยอ้างอีกว่าการแก้ไขข้อความต่างๆ เป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตามความจริง ก็ยากแก่การรับฟัง เพราะหากจำเลยสอบสวนแล้วมีความเห็นว่านาง ส.ผู้ต้องหาไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาเนื่องจากมีรถจักรยานยนต์ตัดหน้าในระยะกระชั้นชิดเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาต้องหักหลบรถจึงเสียหลักวิ่งเข้าชนเกาะกลางถนนแล้วข้ามไปชนกับรถยนต์คันอื่น อันเป็นเหตุสุดวิสัยเป็นอุบัติเหตุซึ่งไม่อาจคาดคิดได้ จำเลยย่อมสามารถที่จะพิมพ์ข้อความและมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องได้อยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จำเลยจะต้องทำสำนวนการสอบสวนโดยเชื่อว่าผู้ต้องหามีความผิดและมีความเห็นสั่งฟ้องก่อนแล้วจึงแก้ไขข้อความในภายหลัง ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยมิได้ส่งสำนวนพร้อมด้วยความเห็นไปให้พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรตามขั้นตอน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 142 และหลังจากที่ได้รับคำสั่งย้ายไปรับราชการที่อื่นจำเลยยังนำสำนวนการสอบสวนติดตัวไปด้วย ทั้งๆที่เป็นเอกสารที่ต้องอยู่ในระบบราชการของสถานีตำรวจภูธรเมืองกำแพงเพชร มิใช่ทรัพย์สินส่วนตัวหรือเป็นเอกสารที่ต้องติดตัวจำเลยไปด้วย ที่จำเลยอ้างว่า จำเลยลืมส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรเป็นการกล่าวอ้างง่ายๆ จึงยากแก่การรับฟัง และที่อ้างอีกว่า จำเลยไม่ทราบว่าสำนวนได้ติดตัวจำเลยไปด้วยขณะที่ย้ายไปรับราชการที่อื่น ก็เป็นข้ออ้างที่ขาดเหตุผลไม่น่ารับฟังเช่นกัน ไม่เชื่อว่าจำเลยจะกระทำไปโดยไม่รู้สำนึกในสิ่งที่ได้กระทำไป การที่จำเลยเก็บสำนวนไว้ที่ตัวจึงเชื่อว่าเพื่อปกปิดซ่อนเร้นเรื่องที่จำเลยแก้ไขสำนวนการสอบสวนโดยมิชอบนั่นเอง พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยล้วนเป็นพิรุธผิดวิสัยของพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่โดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา อันมีเหตุซึ่งเชื่อได้ว่าจำเลยแก้ไขข้อความในสำนวนการสอบสวนจากเดิมที่มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาเป็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาหลังจากเสนอสำนวนการสอบสวนให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นลงชื่อแล้วเพื่อช่วยผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และ 200 วรรคแรก
ป้ายกำกับ:
คดีอาญา
02 เมษายน 2559
การถอนฟ้องคดีแพ่งนั้นสามารถนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ เว้นแต่ในการถอนฟ้องนั้นได้แถลงต่อศาลไว้ในคดีนั้นด้วยว่าจะไม่ฟ้องจำเลยอีก ซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176
การถอนฟ้องคดีแพ่ง
การถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิม แต่ว่าคำฟ้องที่ได้ถอนแล้ว ก็อาจยื่นใหม่ได้ภายในอายุความ (ป.วิ.พ.มาตรา 176)
แต่ถ้าในการถอนฟ้องนั้นได้แถลงต่อศาลไว้ในคดีนั้นด้วยว่าจะไม่ฟ้องจำเลยอีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ กรณีนี้โจทก์ก็ไม่สามารถนำฟ้องคดีเรื่องนี้มาฟ้องจำเลยอีกต่อไป ดังมีคำพิพากษาศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552 - แม้ได้ความว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับที่พิพาทในคดีนี้และมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้นได้ความว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้ หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โดยโจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ แม้ในคดีนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า “ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง” คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า “ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องโดยหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก” ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ถ. ผู้ซื้อที่ดินของโจทก์ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิม แต่ว่าคำฟ้องที่ได้ถอนแล้ว ก็อาจยื่นใหม่ได้ภายในอายุความ (ป.วิ.พ.มาตรา 176)
แต่ถ้าในการถอนฟ้องนั้นได้แถลงต่อศาลไว้ในคดีนั้นด้วยว่าจะไม่ฟ้องจำเลยอีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ กรณีนี้โจทก์ก็ไม่สามารถนำฟ้องคดีเรื่องนี้มาฟ้องจำเลยอีกต่อไป ดังมีคำพิพากษาศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552 - แม้ได้ความว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับที่พิพาทในคดีนี้และมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้นได้ความว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้ หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โดยโจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ แม้ในคดีนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า “ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง” คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า “ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องโดยหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก” ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ถ. ผู้ซื้อที่ดินของโจทก์ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ป้ายกำกับ:
คดีแพ่ง
เกิดอุบัติเหตุแล้วกลับทิ้งให้หญิงคนรักนอนสลบอยู่ในพงหญ้าข้างทางนานถึง 8 วัน โดยไม่แจ้งให้คนไปช่วยเหลือ ผิดฐานพยายามฆ่า
การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย ตามมาตรา 59 วรรคท้าย
นั่งรถไปด้วยกัน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว กลับทิ้งให้คนรักนอนสลบอยู่ในพงหญ้าข้างทางนานถึง 8 วัน โดยไม่แจ้งให้คนไปช่วยเหลือ ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงคนรักนั้น อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า ดังที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16412/2555 - วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นหญิงคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลงทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทาง แล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือ ทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุ เป็นเวลานานถึง 8 วัน และไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือ ผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าและฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องของโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 ไว้ชัดเจนแล้วว่า เมื่อรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 หมดสติ จำเลยไม่ช่วยเหลือหรือแจ้งให้ผู้อื่นไปช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าจึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แล้ว เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยฟังได้ว่า วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้จับมือผู้เสียหายที่ 2 ไปกอดไว้และเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทางแล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุเป็นเวลานานถึง 8 วันและไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย ส่วนความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีนั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยได้ทิ้งผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งหมดสติอยู่ที่เกิดเหตุโดยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที มิได้บรรยายอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส แม้โจทก์จะบรรยายในตอนท้ายของข้อ (1) ค. ว่า ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสก็เป็นการบรรยายฟ้องสืบเนื่องมาจากรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มและผลจากการที่จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสองได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปว่า มีเหตุไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ สำหรับความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร เห็นว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับจำเลยในแต่ละกระทงอีกสถานหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปี หรือปรับแต่ละกระทงไม่เกินสี่หมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่โจทก์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีซึ่งเป็นกรรมเดียวกันนั้น เห็นว่า แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 19 ปี และหลังเกิดเหตุจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองแล้วก็ตาม แต่จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 เป็นคนรักกัน เมื่อรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับประสบอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส จำเลยในฐานะคนรักของผู้เสียหายที่ 2 และไม่ได้รับบาดเจ็บมากควรช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 หรือไปตามบุคคลอื่นมาช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 แต่จำเลยกลับไม่กระทำและทิ้งผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในที่เกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไปสอบถามถึงผู้เสียหายที่ 2 จำเลยก็ไม่ยอมบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทราบ ปล่อยให้ผู้เสียหายที่ 2 ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานานถึง 8 วัน จนกระทั่งนายอุดม ไปพบผู้เสียหายที่ 2 หากนายอุดมไม่ไปพบผู้เสียหายที่ 2 อาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายได้ ที่จำเลยแก้ฎีกาว่า จำเลยกลัวความผิดและเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายแล้วจึงไม่กล้าบอกหรือเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟัง ก็เป็นการผิดวิสัยของคนที่รักกัน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น และเมื่อศาลฎีกาไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว การคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ย่อมไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกการคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 5 ปี ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 กับให้ยกเลิกการคุมประพฤติในความผิดฐานดังกล่าว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4
นั่งรถไปด้วยกัน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว กลับทิ้งให้คนรักนอนสลบอยู่ในพงหญ้าข้างทางนานถึง 8 วัน โดยไม่แจ้งให้คนไปช่วยเหลือ ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงคนรักนั้น อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า ดังที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16412/2555 - วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นหญิงคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลงทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทาง แล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือ ทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุ เป็นเวลานานถึง 8 วัน และไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า การงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือ ผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าและฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องของโจทก์ได้กล่าวถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 ไว้ชัดเจนแล้วว่า เมื่อรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 หมดสติ จำเลยไม่ช่วยเหลือหรือแจ้งให้ผู้อื่นไปช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพยายามฆ่าจึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แล้ว เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยฟังได้ว่า วันเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นคนรักนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างทางได้จับมือผู้เสียหายที่ 2 ไปกอดไว้และเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มลง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ตกจากรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัสนอนหมดสติในพงหญ้าข้างทางแล้วจำเลยหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือทิ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 นอนหมดสติในที่เกิดเหตุเป็นเวลานานถึง 8 วันและไม่แจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 ทราบ จนมีผู้ไปพบผู้เสียหายที่ 2 จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการงดเว้นไม่ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 อาจถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 59 วรรคท้าย ส่วนความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีนั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยได้ทิ้งผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งหมดสติอยู่ที่เกิดเหตุโดยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที มิได้บรรยายอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส แม้โจทก์จะบรรยายในตอนท้ายของข้อ (1) ค. ว่า ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสก็เป็นการบรรยายฟ้องสืบเนื่องมาจากรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับล้มและผลจากการที่จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสองได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปว่า มีเหตุไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ สำหรับความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร เห็นว่า ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษปรับจำเลยในแต่ละกระทงอีกสถานหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปี หรือปรับแต่ละกระทงไม่เกินสี่หมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่โจทก์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีซึ่งเป็นกรรมเดียวกันนั้น เห็นว่า แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 19 ปี และหลังเกิดเหตุจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองแล้วก็ตาม แต่จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 เป็นคนรักกัน เมื่อรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับประสบอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส จำเลยในฐานะคนรักของผู้เสียหายที่ 2 และไม่ได้รับบาดเจ็บมากควรช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 หรือไปตามบุคคลอื่นมาช่วยเหลือผู้เสียหายที่ 2 แต่จำเลยกลับไม่กระทำและทิ้งผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในที่เกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไปสอบถามถึงผู้เสียหายที่ 2 จำเลยก็ไม่ยอมบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทราบ ปล่อยให้ผู้เสียหายที่ 2 ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานานถึง 8 วัน จนกระทั่งนายอุดม ไปพบผู้เสียหายที่ 2 หากนายอุดมไม่ไปพบผู้เสียหายที่ 2 อาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายได้ ที่จำเลยแก้ฎีกาว่า จำเลยกลัวความผิดและเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายแล้วจึงไม่กล้าบอกหรือเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟัง ก็เป็นการผิดวิสัยของคนที่รักกัน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น และเมื่อศาลฎีกาไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว การคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ย่อมไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกการคุมประพฤติจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 อีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แจ้งเหตุและแสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 5 ปี ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ความผิดฐานกระทำอนาจาร ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 กับให้ยกเลิกการคุมประพฤติในความผิดฐานดังกล่าว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4
ป้ายกำกับ:
คดีอาญา
ถูกทำร้ายจึงกลับไปห้องพักห่างออกไป 2-3 กิโลเมตรใช้เวลา 30 นาที เพื่อเอาอาวุธกลับมาฆ่าผู้ตาย ไม่เป็นบันดาลโทสะ แต่เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามมาตรา 289(4)
มาตรา 72 "ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้"
มาตรา 289 "ผู้ใด
(1) ..........
(2) ..........
(3) ..........
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) .........
................
ต้องระวางโทษประหารชีวิต"
มาตรา 289 "ผู้ใด
(1) ..........
(2) ..........
(3) ..........
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) .........
................
ต้องระวางโทษประหารชีวิต"
การอ้างเหตุบันดาลโทสะเพื่อที่จะได้รับโทษน้อยลง จะต้องได้ความว่าเกิดบันดาลโทสะเนื่องจากถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงได้ลงมือกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น แต่ถ้าเหตุการที่ถูกข่มเหงผ่านพ้นไปนานพอสมควร ซึ่งโทสะระงับลงแล้ว แต่กลับตระเตรียมอาวุธกลับมาฆ่าผู้ข่มเหง ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องบันดาลโทสะ แต่เป็นเรื่องการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ดังที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2558 - จำเลยที่ 1 เดินออกจากร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุกลับถึงห้องพัก ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 2 ถึง 3 กิโลเมตร แล้วจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้พูดเกลี้ยกล่อมจำเลยที่ 1 ไม่ให้กลับไปอีก ทั้งได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ออกไปจากร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุได้ประมาณ 30 นาที ก็กลับมาอีก เมื่อหักเวลาเดินทางไปและกลับระหว่างร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุกับห้องพักของจำเลยทั้งสี่เชื่อว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เวลาพูดเกลี้ยกล่อมไม่ให้จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุนานประมาณ 20 นาที ซึ่งจำเลยที่ 1 น่าจะสามารถระงับสติอารมณ์ทำให้โทสะหมดสิ้นไปแล้วและกลับมามีสติสัมปชัญญะดีเหมือนเดิม การที่จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุแล้วทำร้ายผู้ตายจึงหาใช่เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยที่ 1 ยังมีโทสะอยู่ แต่เป็นเหตุการณ์ที่ขาดตอนไปแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ากระทำโดยบันดาลโทสะไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ตระเตรียมอาวุธมีดของกลางกลับไปที่ร้านคาราโอเกะที่เกิดเหตุ ไล่ตามผู้ตายที่วิ่งหนีไปเป็นระยะทางถึง 50 เมตร และใช้อาวุธมีดของกลางที่เตรียมมาฟันแทงผู้ตายอย่างแรงหลายครั้งจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ตายทำร้ายจึงวิ่งออกจากร้านกลับไปที่ห้องพักใช้เวลาเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ขณะที่จำเลยที่ 1 มีอารมณ์โกรธใช้เวลานานเพียงไม่กี่นาทีย่อมไม่มีโอกาสคิดทบทวนว่าสมควรจะฆ่าผู้ตายหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โกรธผู้ตาย จึงหยิบอาวุธมีดจากห้องพักเพื่อกลับมาทำร้ายผู้ตาย เมื่อไปถึงจำเลยที่ 1 ถืออาวุธมีดเดินเข้าไปภายในร้าน ผู้ตายวิ่งออกจากร้านไป จำเลยที่ 1 วิ่งไล่ตามผู้ตายแล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย และโจทก์ไม่มีหลักฐานอื่นมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีโอกาสคิดใคร่ครวญตระเตรียมการวางแผนก่อเหตุฆ่าผู้ตาย พยานหลักฐานโจทก์ย่อมฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ประกอบกับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยที่ 1 ก่อน โดยขณะที่จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านเกิดเหตุแล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยที่ 1 ยังมีโทสะอยู่ อันเป็นการกระทำเนื่องจากถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เห็นว่า ร้านคาราโอเกะในนาอยู่ห่างจากห้องพักของจำเลยที่ 1 ประมาณ 2 ถึง 3 กิโลเมตร จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ใช้รถจักรยานยนต์สองคันเป็นพาหนะออกจากร้านคาราโอเกะในนากลับไปห้องพักและจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เดินทางจากห้องพักกลับไปร้านคาราโอเกะรวมเวลาเดินทางไปกลับไม่น่าจะเกิน 10 นาที จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 กลับไปถึงห้องพักก็เข้าไปหยิบมีดของกลางและจะกลับไปหาผู้ตายที่ร้านคาราโอเกะในนา จำเลยที่ 2 และที่ 4 พยายามห้ามไว้แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมฟัง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องกลับไปที่ร้านคาราโอเกะในนา กับจำเลยที่ 1 อีก ซึ่งก็สอดคล้องกับคำให้การของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา ว่า จำเลยที่ 1 จะกลับไปร้านคาราโอเกะในนาคนเดียว แต่จำเลยอื่นไม่ยอม จึงเชื่อได้ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 กลับไปถึงห้องพัก จำเลยอื่นได้พูดเกลี้ยกล่อมจำเลยที่ 1 ไม่ให้กลับไปอีก นางสาว จ. พนักงานเสิร์ฟประจำร้านคาราโอเกะในนาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การของพยาน ว่า จำเลยทั้งสี่ออกไปจากร้านเวลาประมาณ 0.30 นาฬิกา และกลับมาอีกครั้งเมื่อเวลาประมาณ 1 นาฬิกา ตามคำให้การของนางสาว จ.แสดงว่าจำเลยทั้งสี่ออกไปได้ประมาณ 30 นาที ก็กลับมาอีก เมื่อหักเวลาเดินทางไปและกลับระหว่างร้านคาราโอเกะในนากับที่พักของจำเลยทั้งสี่เชื่อว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เวลาพูดเกลี้ยกล่อมไม่ให้จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านคาราโอเกะในนาประมาณ 20 นาที ซึ่งจำเลยที่ 1 น่าจะสามารถระงับสติอารมณ์ทำให้โทสะหมดสิ้นไปแล้วและกลับมามีสติสัมปชัญญะดีเหมือนเดิม การที่จำเลยที่ 1 กลับไปที่ร้านคาราโอเกะในนาแล้วทำร้ายผู้ตายจึงหาใช่เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยที่ 1 ยังมีโทสะอยู่ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่ แต่เป็นเหตุการณ์ที่ขาดตอนไปแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ากระทำโดยบันดาลโทสะไม่ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ตระเตรียมอาวุธมีดของกลางกลับไปที่ร้านคาราโอเกะในนาเมื่อผู้ตายเห็นจำเลยที่ 1 จึงวิ่งหนี จำเลยที่ 1 ไล่ตามไปเป็นระยะทางถึง 50 เมตร และใช้อาวุธมีดของกลางที่เตรียมมาฟันแทงผู้ตายอย่างแรงหลายครั้งจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคดีนี้ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุโดยใช้ท่อเหล็กแป๊บตีทำร้ายจำเลยที่ 1 ก่อน ประกอบกับคำให้การชั้นสอบสวนและทางนำสืบของจำเลยที่ 1 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลดโทษให้หนึ่งในสามยังไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เห็นสมควรลดโทษให้จำเลยที่ 1 สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรให้เหมาะสมกับการกระทำความผิด
พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลดโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุก 25 ปี และเมื่อลดโทษฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงปรับ 45 บาท รวมเป็นจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 45 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8
ป้ายกำกับ:
คดีอาญา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)