ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง


พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งพุทธศักราช ๒๔๗๗

                  

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗)
อนุวัตน์จาตุรนต์
อาทิตย์ทิพอาภา
เจ้าพระยายมราช
ตราไว้ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๘
เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

          โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรที่จะยกเลิกบรรดากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ ณ บัดนี้ และให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแทน

          จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้

          มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช ๒๔๗๗”

          มาตรา ๒  ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

          มาตรา ๓  ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามที่ได้ตราไว้ต่อท้าย พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็นต้นไป
          บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ให้ใช้ในศาลทั่วไปตลอดราชอาณาจักร ยกเว้นแต่ในศาลพิเศษที่มีข้อบังคับสำหรับศาลนั้น และถ้ามีกฎหมายให้ใช้ธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายทางศาสนาในศาลใด ให้ศาลนั้นยกธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายนั้น ๆ มาใช้แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันให้ใช้ประมวลกฎหมายนี้
          บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้บังคับแก่คดีความทั้งปวงซึ่งค้างชำระอยู่ในศาลเมื่อวันใช้ประมวลกฎหมายนี้ หรือที่ได้ยื่นต่อศาลภายหลังวันนั้น ไม่ว่ามูลคดีจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้นั้น

          มาตรา ๔  ตั้งแต่วันใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนี้สืบไป ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายนี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายนี้

          มาตรา ๕  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องต่อไปนี้
          (๑) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องเจ้าพนักงานบังคับคดี รวมทั้งการกำหนดค่าธรรมเนียม นอกจากที่ระบุไว้ในตาราง ๕ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ ตลอดจนการชดใช้ค่าใช้จ่ายให้บุคคลเหล่านั้น
          (๒) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการยึดและอายัด และการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นตัวเงินโดยวิธีขายทอดตลาดหรือโดยวิธีอื่น และในเรื่องวิธีการบังคับคดีทางอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะพึงปฏิบัติ
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

          มาตรา ๖  ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจออกข้อบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องต่อไปนี้
          (๑) การแต่งตั้ง การระบุตัว และการสาบานของล่าม ผู้แปล และผู้เชี่ยวชาญการกำหนดจำนวนค่าป่วยการ และการชดใช้ค่าใช้จ่ายให้บุคคลเหล่านั้น
          (๑/๑) การกำหนดจำนวนค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พัก ของพยานที่ศาลเรียกมา
          (๒) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องเจ้าพนักงานศาล รวมทั้งการกำหนดค่าธรรมเนียมนอกจากที่ระบุไว้ในตาราง ๕ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ ตลอดจนการชดใช้ค่าใช้จ่ายให้บุคคลเหล่านั้น
          (๓) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการเก็บรักษาและการทำลายสารบบความ สารบบคำพิพากษา สมุดคำพิพากษา และสารบบอื่น ๆ ของศาล ตลอดจนสำนวนความทั้งหลาย
          (๔) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องการยื่นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล เพื่อยื่นต่อศาลหรือเพื่อส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง และในเรื่องการขอร้องด้วยวาจาเพื่อให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่
          (๕) จัดวางระเบียบทางธุรการในเรื่องที่คู่ความฝ่ายหนึ่งจะส่งต้นฉบับเอกสารไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง
          ข้อบังคับนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้


          ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
                  นายกรัฐมนตรี


 สารบาญ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

               

                                                                                               

ภาค ๑ บททั่วไป

     ลักษณะ ๑ บทวิเคราะห์ศัพท์    มาตรา ๑
     ลักษณะ ๒ ศาล
          หมวด ๑ เขตอำนาจศาล    มาตรา ๒-๑๐
          หมวด ๒ การคัดค้านผู้พิพากษา      มาตรา ๑๑-๑๔
          หมวด ๓ อำนาจและหน้าที่ของศาล      มาตรา ๑๕-๓๔
          หมวด ๔ การนั่งพิจารณา     มาตรา ๓๕-๔๕
          หมวด ๕ รายงานและสำนวนความ     มาตรา ๔๖-๕๔
     ลักษณะ ๓ คู่ความ     มาตรา ๕๕-๖๖
     ลักษณะ ๔ การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร     มาตรา ๖๗-๘๓ อัฏฐ
     ลักษณะ ๕ พยานหลักฐาน
          หมวด ๑ หลักทั่วไป     มาตรา ๘๔-๑๐๕
          หมวด ๒ ว่าด้วยการมาศาลของพยานและการซักถามพยาน      มาตรา ๑๐๖-๑๒๑
          หมวด ๓ การนำพยานเอกสารมาสืบ       มาตรา ๑๒๒-๑๒๗ ทวิ
          หมวด ๔ การตรวจและการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญโดยศาล       มาตรา ๑๒๘-๑๓๐
     ลักษณะ ๖ คำพิพากษาและคำสั่ง
          หมวด ๑ หลักทั่วไปว่าด้วยการชี้ขาดตัดสินคดี      มาตรา ๑๓๑-๑๓๙
          หมวด ๒ ข้อความและผลแห่งคำพิพากษาและคำสั่ง      มาตรา ๑๔๐-๑๔๘
          หมวด ๓ ค่าฤชาธรรมเนียม
               ส่วนที่ ๑ การกำหนดและการชำระค่าฤชาธรรมเนียม
                             และการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล       มาตรา ๑๔๙-๑๖๐
               ส่วนที่ ๒ ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม      มาตรา ๑๖๑-๑๖๙/๓

ภาค ๒ วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น

     ลักษณะ ๑ วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น     มาตรา ๑๗๐-๑๘๘
     ลักษณะ ๒ วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น
          หมวด ๑ วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่     มาตรา ๑๘๙-๑๙๖
          หมวด ๒ การพิจารณาโดยขาดนัด
               ส่วนที่ ๑ การขาดนัดยื่นคำให้การ      มาตรา ๑๙๗-๑๙๙ ฉ
               ส่วนที่ ๒ การขาดนัดพิจารณา      มาตรา ๒๐๐-๒๐๙
          หมวด ๓ อนุญาโตตุลาการ      มาตรา ๒๑๐-๒๒๒
          หมวด ๔ การดำเนินคดีแบบกลุ่ม                                                              
               ส่วนที่ ๑ บททั่วไป     มาตรา ๒๒๒/๑-๒๒๒/๗
               ส่วนที่ ๒ การขออนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม     มาตรา ๒๒๒/๘-๒๒๒/๑๓
               ส่วนที่ ๓ การพิจารณาคดีแบบกลุ่ม      มาตรา ๒๒๒/๑๔-๒๒๒/๓๔
               ส่วนที่ ๔ คำพิพากษาและการบังคับคดี      มาตรา ๒๒๒/๓๕-๒๒๒/๔๔
               ส่วนที่ ๕ อุทธรณ์และฎีกา      มาตรา ๒๒๒/๔๕-๒๒๒/๔๘
               ส่วนที่ ๖ ค่าธรรมเนียม       มาตรา ๒๒๒/๔๙

ภาค ๓ อุทธรณ์และฎีกา

     ลักษณะ ๑ อุทธรณ์      มาตรา ๒๒๓-๒๔๖
     ลักษณะ ๒ ฎีกา      มาตรา ๒๔๗-๒๕๒

ภาค ๔ วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง

     ลักษณะ ๑ วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
          หมวด ๑ หลักทั่วไป      มาตรา ๒๕๓-๒๖๕
          หมวด ๒ คำขอในเหตุฉุกเฉิน      มาตรา ๒๖๖-๒๗๐
     ลักษณะ ๒ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
          หมวด ๑ หลักทั่วไป                                                                    
               ส่วนที่ ๑ ศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี      มาตรา ๒๗๑
               ส่วนที่ ๒ คำบังคับ      มาตรา ๒๗๒-๒๗๓
               ส่วนที่ ๓ การขอบังคับคดี      มาตรา ๒๗๔-๒๗๕
               ส่วนที่ ๔ การพิจารณาคำขอบังคับคดี      มาตรา ๒๗๖
               ส่วนที่ ๕ การขอให้ศาลไต่สวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน
                              ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา      มาตรา ๒๗๗
               ส่วนที่ ๖ อำนาจทั่วไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี      มาตรา ๒๗๘-๒๘๖
               ส่วนที่ ๗ ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี      มาตรา ๒๘๗-๒๘๘
               ส่วนที่ ๘ การงดการบังคับคดี      มาตรา ๒๘๙-๒๙๑
               ส่วนที่ ๙ การถอนการบังคับคดี      มาตรา ๒๙๒-๒๙๔
               ส่วนที่ ๑๐ การเพิกถอนหรือแก้ไขการบังคับคดีที่ผิดระเบียบ      มาตรา ๒๙๕
          หมวด ๒ การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน                                          
               ส่วนที่ ๑ อำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี      มาตรา ๒๙๖-๓๐๐
               ส่วนที่ ๒ ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี     มาตรา ๓๐๑-๓๐๒
               ส่วนที่ ๓ การยึดทรัพย์สิน      มาตรา ๓๐๓-๓๑๕
               ส่วนที่ ๔ การอายัดสิทธิเรียกร้อง      มาตรา ๓๑๖-๓๒๐
               ส่วนที่ ๕ การขอให้ศาลบังคับบุคคลภายนอกชำระหนี้
                              ตามสิทธิเรียกร้อง      มาตรา ๓๒๑
               ส่วนที่ ๖ สิทธิของบุคคลภายนอกและผู้มีส่วนได้เสีย
                             เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี      มาตรา ๓๒๒-๓๒๕
               ส่วนที่ ๗ การขอเฉลี่ยและการเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไป      มาตรา ๓๒๖-๓๓๐
               ส่วนที่ ๘ การขายหรือจำหน่าย       มาตรา ๓๓๑-๓๓๕
               ส่วนที่ ๙ การตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการ
                              แทนการขายหรือจำหน่าย       มาตรา ๓๓๖
               ส่วนที่ ๑๐ การทำบัญชีส่วนเฉลี่ย      มาตรา ๓๓๗-๓๔๔
               ส่วนที่ ๑๑ เงินค้างจ่าย      มาตรา ๓๔๕
          หมวด ๓ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง     มาตรา ๓๔๖-๓๔๙
          หมวด ๔ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่      มาตรา ๓๕๐
               ส่วนที่ ๑ การบังคับคดีในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
                             ต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย
                             หรือทรัพย์ที่ครอบครอง      มาตรา ๓๕๑-๓๕๔
               ส่วนที่ ๒ การบังคับคดีในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
                             ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ
                             หรือขนย้ายทรัพย์สิน ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์
                             ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง       มาตรา ๓๕๕
          หมวด ๕ การบังคับคดีในกรณีที่ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ      มาตรา ๓๕๖
               ส่วนที่ ๑ การบังคับคดีในกรณีที่ให้กระทำการ       มาตรา ๓๕๗-๓๕๘
               ส่วนที่ ๒ การบังคับคดีในกรณีที่ให้งดเว้นกระทำการ       มาตรา ๓๕๙
          หมวด ๖ การบังคับคดีในกรณีได้มาซึ่งทรัพย์สินที่มีทะเบียน      มาตรา ๓๖๐
          หมวด ๗ การบังคับคดีในกรณีที่ขอให้ศาลสั่งจับกุม
                         และกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา       มาตรา ๓๖๑-๓๖๕
          หมวด ๘ การบังคับในกรณีมีการประกันในศาล      มาตรา ๓๖๖-๓๖๗


          ค่าธรรมเนียมศาลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี