ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา



พระราชบัญญัติ
ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พุทธศักราช ๒๔๗๗

                   
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗)
อนุวัตน์จาตุรนต์
อาทิตย์ทิพอาภา
เจ้าพระยายมราช
ตราไว้ ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๘
เป็นปีที่ ๒ ในรัชชกาลปัจจุบัน

          โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่าเป็นการสมควรที่จะประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

          จึงมีพระบรมราชโองการ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

          มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๗”

          มาตรา ๒  ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

          มาตรา ๓  ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามที่ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็นต้นไป
          ให้ศาลและเจ้าพนักงานทั้งหลายผู้ดำเนินคดีอาญาตลอดราชอาณาจักร ปฏิบัติการตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ เว้นแต่ศาลซึ่งมีวิธีพิจารณาพิเศษไว้ต่างหาก
          คดีทั้งหลายซึ่งค้างอยู่ในศาลก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายนี้ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายนี้จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด

          มาตรา ๔  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๓ ตั้งแต่วันใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานี้สืบไป ให้ยกเลิกมาตรา ๑๔, ๑๖ และมาตรา ๘๗ ถึง ๙๖ ในกฎหมายลักษณะอาญา พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน ร.ศ. ๑๑๕ และบรรดากฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายนี้

          มาตรา ๕  ให้ประธานศาลฎีกา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
          ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกข้อบังคับ และนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อวางระเบียบการงานตามหน้าที่ให้การดำเนินคดีอาญาเป็นไปโดยเรียบร้อย  ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตน
          ข้อบังคับหรือกฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


          ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
      นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
                นายกรัฐมนตรี





สารบาญประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

         
         

         ภาค ๑  ข้อความเบื้องต้น



ลักษณะ ๑  หลักทั่วไป    มาตรา ๑-๑๕
ลักษณะ ๒  อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล
          หมวด ๑ หลักทั่วไป    มาตรา ๑๖
          หมวด ๒ อำนาจสืบสวนและสอบสวน    มาตรา ๑๗-๒๑
          หมวด ๓ อำนาจศาล    มาตรา ๒๒-๒๗
ลักษณะ ๓  การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
          หมวด ๑ การฟ้องคดีอาญา   มาตรา ๒๘-๓๙
          หมวด ๒ การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา   มาตรา ๔๐-๕๑
ลักษณะ ๔  หมายเรียกและหมายอาญา
          หมวด ๑ หมายเรียก   มาตรา ๕๒-๕๖
          หมวด ๒ หมายอาญา
               ส่วนที่ ๑ หลักทั่วไป   มาตรา ๕๗-๖๕
               ส่วนที่ ๒ หมายจับ   มาตรา ๖๖-๖๘
               ส่วนที่ ๓ หมายค้น   มาตรา ๖๙-๗๐
               ส่วนที่ ๔ หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย มาตรา ๗๑-๗๖
ลักษณะ ๕  จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว
          หมวด ๑ จับ ขัง จำคุก   มาตรา ๗๗-๙๐
          หมวด ๒ ค้น   มาตรา ๙๑-๑๐๕
          หมวด ๓ ปล่อยชั่วคราว   มาตรา ๑๐๖-๑๑๙ ทวิ



          ภาค ๒ สอบสวน


ลักษณะ ๑  หลักทั่วไป    มาตรา ๑๒๐-๑๒๙
ลักษณะ ๒  การสอบสวน
          หมวด ๑ การสอบสวนสามัญ   มาตรา ๑๓๐-๑๔๗
          หมวด ๒ การชันสูตรพลิกศพ   มาตรา ๑๔๘-๑๕๖



          ภาค ๓ วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น


ลักษณะ ๑  ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง   มาตรา ๑๕๗-๑๗๑
ลักษณะ ๒  การพิจารณา   มาตรา ๑๗๒-๑๘๑
ลักษณะ ๓  คำพิพากษาและคำสั่ง   มาตรา ๑๘๒-๑๙๒



          ภาค ๔  อุทธรณ์และฎีกา


ลักษณะ ๑  อุทธรณ์
          หมวด ๑ หลักทั่วไป    มาตรา ๑๙๓-๒๐๒
          หมวด ๒ การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นอุทธรณ์   มาตรา ๒๐๓-๒๑๕
ลักษณะ ๒  ฎีกา
          หมวด ๑ หลักทั่วไป   มาตรา ๒๑๖-๒๒๔
          หมวด ๒ การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นฎีกา   มาตรา ๒๒๕



          ภาค ๕ พยานหลักฐาน


หมวด ๑ หลักทั่วไป    มาตรา ๒๒๖-๒๓๑
หมวด ๒ พยานบุคคล    มาตรา ๒๓๒-๒๓๗ ตรี
หมวด ๓ พยานเอกสาร   มาตรา ๒๓๘-๒๔๐
หมวด ๔ พยานวัตถุ   มาตรา ๒๔๑-๒๔๒
หมวด ๕ ผู้เชี่ยวชาญ   มาตรา ๒๔๓-๒๔๔/๑



          ภาค ๖ การบังคับตามคำพิพากษาและค่าธรรมเนียม


หมวด ๑ การบังคับตามคำพิพากษา   มาตรา ๒๔๕-๒๕๑
หมวด ๒ ค่าธรรมเนียม   มาตรา ๒๕๒-๒๕๘

          ภาค ๗ อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ    มาตรา ๒๕๙-๒๖๗


          บัญชีแนบท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา